รายละเอียดหลักสูตร (ภาคพิเศษ)


จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

     ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

     จัดการศึกษา แผน ก แบบ ก๒ และ แผน ข ดังนี้

แผน ก แบบ ก ๒ แผน ข
หมวดวิชาบังคับ ๑๘ หน่วยกิต ๑๘ หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต ๑๒ หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต -
สารนิพนธ์ - ๖ หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต ๓๖ หน่วยกิต

รายวิชาในหลักสูตร

     (๑) หมวดวิชาบังคับ แผน ก แบบ ก๒ จำนวน ๑๘ หน่วยกิต และแผน ข จำนวน ๑๘ หน่วยกิต

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)
จศจศ ๕๐๐ ธรรมชาติแห่งโลกและชีวิต ๓ (๒-๓-๔)
CECE 500 The Nature of World and Life
จศจศ ๕๐๑ ศิลปะแห่งการจัดกระบวนการจิตตปัญญา ๑ ๓ (๒-๓-๔)
CECE 501 The Arts of Contemplative Facilitation I
จศจศ ๕๐๓ จิตวิญญาณเพื่อสังคม ๓ (๒-๓-๔)
CECE 503 Spirituality for Society
จศจศ ๕๑๑ ภูมิปัญญาบรรพกาลและจิตวิญญาณร่วมสมัย ๓ (๓-๐-๖)
CECE 511 Ancient Wisdom and Contemporary Spirituality
จศจศ ๕๒๐ วิทยาระเบียบวิธีวิจัย ๑ ๓ (๒-๓-๔)
CECE 520 Research Methodology I
จศจศ ๕๒๔ สัมมนาทางจิตตปัญญาศึกษา ๓ (๓-๐-๖)
CECE 524 Seminar in Contemplative Education

     (๒) หมวดวิชาเลือก แผน ก แบบ ก๒ ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิตและแผน ข ไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)
จศจศ ๕๐๒ ศิลปะแห่งการจัดกระบวนการจิตตปัญญา ๒ ๓ (๒-๓-๔)
CECE 502 The Arts of Contemplative Facilitation II
จศจศ ๕๐๖ ภาวนา ๑ # ๑ (๑-๐-๒)
CECE 506 Bhavana I
จศจศ ๕๐๗ ภาวนา ๒ # ๑ (๑-๐-๒)
CECE 507 Bhavana II
จศจศ ๕๒๑ วิทยาระเบียบวิธีวิจัย ๒ ๓ (๒-๓-๔)
CECE 521 Research Methodology II
จศจศ ๕๒๒ ภาวนา ๓ # ๑ (๑-๐-๒)
CECE 522 Bhavana III
จศจศ ๕๒๓ ภาวนา ๔ # ๓ (๑-๖-๒)
CECE 523 Bhavana IV
จศจศ ๕๒๕ การเรียนรู้และการศึกษาที่แท้ ๓ (๒-๓-๔)
CECE 525 Authentic Learning and Education
จศจศ ๕๒๖ สื่อสารศิลป์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ๓ (๓-๐-๖)
CECE 526 Media Arts for Change
จศจศ ๕๒๗ โครงการสื่อสารศิลป์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ๓ (๒-๓-๔)
CECE 527 Media Arts Project for Change
จศจศ ๕๒๘ แนวคิดของชีวิตและความตาย ๓ (๓-๐-๖)
CECE 528 Concepts of Life and Death
จศจศ ๕๒๙ จิตตภาวนากับการเยียวยารักษาจิตใจ ๓ (๒-๓-๔)
CECE 529 Contemplative Psychotherapy and Healing
จศจศ ๕๓๐ ปฏิบัติการจิตตปัญญาศึกษาเพื่อสังคม ๓ (๑-๖-๒)
CECE 530 Socially Engaged Practicum in Contemplative Education
*จศจศ ๕๓๑ จิตตศิลป์ ๑ (๑-๐-๒)
CECE 531 Contemplative Arts
*จศจศ ๕๓๒ นพลักษณ์และการเติบโตทางจิตวิญญาณ ๑ (๑-๐-๒)
CECE 532 Enneagram and Spiritual Growth
*จศจศ ๕๓๓ งานวิจัยเรื่องเล่า ๑ (๑-๐-๒)
CECE 533 Narrative Research

หมายเหตุ : # หมายถึง ประเมินผลด้วยสัญลักษณ์ S (Satisfactory) หรือ U (Unsatisfactory) และ * หมายถึง รายวิชาใหม่

          นอกเหนือจากรายวิชาในหมวดวิชาเลือกข้างต้นแล้ว นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชาต่างๆ ในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นรายวิชาในหมวดวิชาเลือกได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำและความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

     (๓) วิทยานิพนธ์

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)
จศจศ ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ ๑๒ (๐-๓๖-๐)
CECE 698 Thesis

     (๔) สารนิพนธ์

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)
จศจศ ๖๙๗ สารนิพนธ์ ๖ (๐-๑๘-๐)
CECE 697 Thematic Paper

โครงการวิจัยของหลักสูตรและโครงการศึกษาอิสระของหลักสูตร

     (๑) การวิจัยเรื่องจิต (Consciousness Research)

     (๒) การวิจัยที่เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล (Personal Transformation) สู่การเปลี่ยนแปลงระดับองค์กร (Organizational Transformation) และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Societal Transformation)

     (๓) จิตตปัญญาศึกษาในองค์กรหรือชุมชน

     (๔) การวิจัยแนวบูรณาการจิตตปัญญาศึกษากับศาสตร์สมัยใหม่ เช่น ประสาทวิทยา สมอง

     (๕) การวิจัยแนวบูรณาการจิตตปัญญาศึกษากับศาสตร์แขนงอื่นๆ เช่น การศึกษา สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลง ชีวิตและความตาย

     (๖) การวิจัยกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา

     (๗) การวิจัยเรื่องระเบียบวิธีวิทยาเชิงจิตตปัญญาศึกษา


คำอธิบายรายวิชา

     (๑) หมวดวิชาบังคับ

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๐๐ ธรรมชาติแห่งโลกและชีวิต ๓ (๒-๓-๔)
CECE 500 The Nature of World and Life

          ความจริงของชีวิตตามทฤษฎีทางศาสนาและจิตวิญญาณ หลักพุทธธรรม กระบวนการทางจิตตปัญญาศึกษา จิตตปัญญาศึกษาสู่ชีวิตประจำวัน

          Truth of life through concepts of religions and spirituality; Buddha-dharma principle; the process of contemplative education; and contemplative education in everyday life


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๐๑ ศิลปะแห่งการจัดกระบวนการจิตตปัญญา ๑ ๓ (๒-๓-๔)
CECE 501 The Arts of Contemplative Facilitation I

          แนวคิดและแนวปฎิบัติในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา พลังกลุ่ม การสื่อสารอย่างสันติ สุนทรียสนทนา หลักจิตตปัญญาศึกษา ๗ ทักษะกระบวนกร การเปิดพื้นที่ของความเห็นอกเห็นใจ ความเมตตากรุณา กระบวนการจิตตปัญญาสำหรับบุคคลภายนอกและสาธารณะ กระบวนการบ่มเพาะความซื่อตรงและทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

          Concepts and practices in contemplation–oriented process design; group cohesion; non–violent communication; dialogue; the principle of 7 Cs; skills in facilitation; holding space of empathy, compassion and loving kindness; and contemplative-oriented process for lay people and public; cultivating process of authenticity and creative communication skills


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๐๓ จิตวิญญาณเพื่อสังคม ๓ (๒-๓-๔)
CECE 503 Spirituality for Society

          ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณและสังคม ภาวะผู้นำที่มีรากฐานจากการพัฒนามิติด้านในจากการศึกษาแนวคิดทางสังคมและการพัฒนาสังคมจากปราชญ์ตะวันออก และองค์กรต้นแบบต่างๆ บูรณาการทฤษฎีทางสังคมตะวันตก การบ่มเพาะวิถีชีวิตที่สมดุลกับตนเอง เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น สังคม ตลอดจนธรรมชาติ

          Issues regarding the relationship between spirituality and society; leadership rooted from the development in the internal dimension through the study of social view and social development from Eastern scholars and prototype organizations integrated with Western social theories; nurturing harmony in one’s life to benefit fellow human beings, society, and nature


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๑๑ ภูมิปัญญาบรรพกาลและจิตวิญญาณร่วมสมัย ๓ (๓-๐-๖)
CECE 511 Ancient Wisdom and Contemporary Spirituality

          รากฐานของแนวความคิดของมนุษย์ ภูมิปัญญาบรรพกาล ความเชื่อ ศาสนา แก่น และที่มาของแนวความคิดเหล่านี้ พัฒนาการของภูมิปัญญาบรรพกาล ในโลกยุคปัจจุบัน แนวคิดจิตวิญญาณร่วมสมัยและวิทยาศาสตร์ใหม่

          The foundation of human thoughts, ancient wisdom, belief, religions, their core and origins; the development of ancient wisdom in the modern world; concepts of contemporary spirituality and new science


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๒๐ วิทยาระเบียบวิธีวิจัย ๑ ๓ (๒-๓-๔)
CECE 520 Research Methodology I

          ความจริง ๓ ทัศน์ ภววิทยา ญาณวิทยา วิธีวิทยา การสร้างองค์ความรู้ด้านจิตตปัญญาศึกษา ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การออกแบบและพัฒนาโครงร่างงานวิจัย การทบทวนวรรณกรรมแบบเจาะลึก การสร้างโจทย์วิจัย การกำหนดขอบเขตการวิจัย การพัฒนากรอบแนวคิด การอ่านบทความวิชาการ การทำบรรณานิทัศน์ เครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การอภิปรายและการตีความข้อมูล การสรุปความ การอ้างอิง การเขียนบรรณานุกรม จริยธรรมการวิจัยและการเชื่อมโยงงานวิจัยสู่วิถีชีวิต

          Three perspectives of reality, ontology, epistemology, methodology; constructing the body of knowledge in contemplative education, educational science, social science, and other related science; design and development of research proposals; Indepth literature review; research question forming; research scoping; conceptual framework developing; academic reading; annotated bibliography; data collection tools; data analysis; discussions and interpretations; conclusions; citation; reference; research ethics; and connecting research to ways of life


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๒๔ สัมมนาทางจิตตปัญญาศึกษา ๓ (๓-๐-๖)
CECE 524 Seminar in Contemplative Education

          แนวคิด และแนวปฏิบัติของการนำจิตตปัญญาศึกษาไปประยุกต์ในบริบท การเรียนรู้และการวิจัยแบบองค์รวม วิทยากรกระบวนการ การเยียวยารักษาจิตใจ นิเวศวัฒนธรรมกับชุมชน การวิจัยเรื่องจิต การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล องค์กร ชุมชน สังคม และศิลปะเพื่อการเปลี่ยนแปลง โครงการจิตตปัญญาศึกษาสู่การทำงานกับบริบท

          Concepts and practices of contemplative education leading to context applications, holistic learning, process facilitation, psycho-healing, cultural ecology and community, transformative arts; and project implementations for contextualizing contemplative education


     (๒) หมวดวิชาเลือก

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๐๒ ศิลปะแห่งการจัดกระบวนการจิตตปัญญา ๒ ๓ (๒-๓-๔)
CECE 502 The Arts of Contemplative Facilitation II

          ทักษะขั้นสูงของการจัดกิจกรรมกลุ่ม การออกแบบ การร้อยเรียงกิจกรรม การตั้งคำถามเพื่อการสืบค้นเชิงลึก การถอดบทเรียนบนวิธีคิดต่าง ๆ การทำกระบวนการเวิร์ลคาเฟ่ การนำภาวนา การปฏิบัตินิเวศภาวนา การทำคู่ปรึกษา เพื่อนรับฟัง กระบวนการโปรเสซเวิร์ก กระบวนการเรียนรู้ระยะสั้น สำหรับชั้นเรียน ชุมชน และสาธารณะ

          Advanced skills in group learning processes, process design, activities weaving; question-asking for deep self-inquiry; group reflection using critical thinking; World Café; guided meditation; contemplative quest in nature; paired counseling; sharing committee; process work; and short courses for classrooms, communities, and public


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๐๖ ภาวนา ๑ ๑ (๑-๐-๒)
CECE 506 Bhavana I

          ความเข้าใจเรื่องการภาวนา แนวคิดและแนวปฏิบัติพื้นฐานของการภาวนา การปฏิบัติภาวนาในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติเพื่อพัฒนาสติ การเฝ้าสังเกตตนเองทั้งกาย ใจอย่างใคร่ครวญ การน้อมนำคุณธรรม จริยธรรมสู่การดำเนินชีวิตประจำวัน

          Understanding of Mindfulness, fundamental concepts and practices of mindfulness; mindfulness practices in the daily life, practices for mindfulness; habituating self-observation of the body and the mind; introducing morality and ethics into the daily life


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๐๗ ภาวนา ๒ ๑ (๑-๐-๒)
CECE 507 Bhavana II

          การปฏิบัติภาวนาในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติเพื่อพัฒนาสติ การเฝ้าสังเกตตนเองทั้งกายใจอย่างใคร่ครวญ การใช้กิจกรรมต่างๆ เป็นเครื่องมือแห่งการรับรู้ทางประสาทสัมผัสและความรู้สึก การประยุกต์การปฏิบัติภาวนากับการฝึกปฏิบัติในชีวิตประจำวัน การผสมผสานการปฏิบัติภาวนาในการจัดกระบวนการเรียนรู้ในแนวจิตตปัญญาศึกษา การเชื่อมโยงผลการปฏิบัติภาวนากับการแก้ไขและจัดการกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน การน้อมนำคุณธรรม จริยธรรมสู่การดำเนินชีวิตประจำวัน

          Meditation in the daily life, mindfulness practices, self-observation of body and mind by using various activities as tools to perceive sensing and feelings; applications of meditation in life-practice, integration of meditation into facilitating transformative learning in contemplative education, connecting meditation practice with the daily life-problem resolution and management, introducing morality and ethics into daily life


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๒๑ วิทยาระเบียบวิธีวิจัย ๒ ๓ (๒-๓-๔)
CECE 521 Research Methodology II

          ระเบียบวิธีวิจัยประเภทต่าง ๆ การวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยกระบวนการเรียนรู้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิจัยแบบชาติพันธุ์วรรณา การวิจัยแบบอัตชาติพันธุ์วรรณา การสืบค้นแบบเล่าเรื่อง การสืบค้นแบบบุคคลที่หนึ่ง การวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาแนวเกอเธ่ การวิจัยแบบการตีความ การวิจัยภาคสนาม การดำรงอยู่ในปรากฏการณ์ผ่านทุกอายตนะ การเชื่อมโยงงานวิจัยสู่วิถีชีวิตและการฝึกปฏิบัติทางจิตวิญญาณ การสร้างคุณค่าและความหมายที่แท้

          Variety of research methodology, classroom research, research on the learning process, action research, participatory action research (PAR); ethnography, autoethnography, narrative inquiry, first person inquiry, Goethean phenomenology, hermeneutics, field research, being in phenomenon through all senses; connecting research to ways of life and spiritual practice, creating values and meanings which are authentic


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๒๒ ภาวนา ๓ ๑ (๑-๐-๒)
CECE 522 Bhavana III

          บูรณาการการปฏิบัติภาวนาที่เข้ากับวิถีการเรียนรู้ในด้านกระบวนการแนวจิตตปัญญาศึกษา สื่อสารศิลป์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ชีวิตและความตาย การภาวนาผ่านกระบวนการที่เน้นฐานกาย การน้อมนำจริยธรรมและคุณธรรมสู่การดำเนินชีวิตประจำวัน

          An integration of meditation with ways of learning of contemplative facilitation, media arts for change, and living and dying; meditation through the contemplative movement; introducing ethics and moralities into the daily life


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๒๓ ภาวนา ๔ ๓ (๑-๖-๒)
CECE 523 Bhavana IV

          การภาวนาเชิงลึกที่สอดคล้องกับจริตของตนเอง การบ่มเพาะคุณภาพการมีสติตระหนักรู้ให้เป็นเนื้อเป็นตัว และนำไปใช้ในชีวิตจริง

          In-depth meditation suiting one’s own nature; embodying mindfulness and awareness, and the real-life application


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๒๕ การเรียนรู้และการศึกษาที่แท้ ๓ (๒-๓-๔)
CECE 525 Authentic Learning and Education

          ความสำคัญของการศึกษา เป้าหมายที่แท้จริงของการจัดการศึกษา พัฒนาการของการเรียนรู้ของมนุษย์ แนวทางในการจัดการศึกษาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง แนวโน้มในการจัดการศึกษาของโลกเพื่อนำไปสู่การพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่แท้ การประเมินผลเพื่อการพัฒนา การออกแบบหลักสูตรและความเชื่อมโยงของการศึกษากับมิติต่างๆ ในสังคม

          The significance of education; true purposes of the education plan; human learning development; educational path towards fullest humanity; transformative learning; global trend of pedagogy for the authentic humanness development; evaluation for development; course design; and the relationship between education and societal aspects


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๒๖ สื่อสารศิลป์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ๓ (๓-๐-๖)
CECE 526 Media Arts for Change

          สื่อสารศิลป์เพื่อการเปลี่ยนแปลงมนุษย์ ชุมชน และสังคม สื่อสารศิลป์เพื่อการพัฒนามิติด้านใน ความสัมพันธ์เชื่อมโยงแห่งสรรพสิ่ง จิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบต่อสังคม แนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง กระบวนทัศน์การสื่อสารกระแสหลักและรอง และการเรียนรู้จากกรณีต้นแบบ

          Media arts for change in human, community and society; media arts for the inner development, the relationship of all things, social responsibilty consciousness; concept of transformative learning; major and minor communication paradigms; and case studies


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๒๗ โครงการสื่อสารศิลป์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ๓ (๒-๓-๔)
CECE 527 Media Arts Project for Change

          การสร้างสรรค์ผลงานสื่อสารศิลป์ในหลากหลายแขนงเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงมนุษย์ ชุมชน และสังคม จิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบต่อสังคม และเทคโนโลยีเพื่องานสื่อ

          The creation of media arts for change in human, community and society in various media forms; social responsibility consciousness; and technology for media


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๒๘ แนวคิดของชีวิตและความตาย ๓ (๓-๐-๖)
CECE 528 Concepts of Life and Death

          แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความตาย ที่มาของแนวคิดเหล่านี้ การศึกษาชีวิตใกล้ตาย ชีวิตหลังความตาย แนวคิดการตายที่ดีและการเตรียมตัวตายอย่างสงบ ในมิติด้านศาสนา ด้านชีววิทยา ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านจิตวิทยาและด้านจิตวิญญาณ

          Concepts regarding life and death; origins of the concepts; near-death studies; life after death; concepts of good death and such preparation in religious, biological, social, cultural, psychological, and spiritual dimensions


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๒๙ จิตตภาวนากับการเยียวยารักษาจิตใจ ๒ (๒-๓-๔)
CECE 529 Contemplative Psychotherapy and Healing

          การสังเกตการตระหนักรู้ การคิดพิจารณาอย่างแยบคาย กระบวนการจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธความเข้าใจโลกและชีวิตที่ถูกต้องของผู้เยียวยารักษา กระบวนการเตรียมสภาวะจิตใจของผู้เยียวยารักษา กระบวนการสร้างความมั่นคงภายใน แนวคิดพื้นฐานในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และการเยียวยาผู้สูญเสีย ปัญญาแห่งการฟัง ผู้เยียวยารักษาในฐานะกัลยาณมิตร หลักพรหมวิหาร ๔ กับชุมชนแห่งการปฏิบัติ

          Practices in observing, awareness, and contemplation; the process of Buddhist counselling; the right understanding and world views of helpers; the preparation process for the helper’s inner state; the inner strengthening process; the foundation of palliative care and bereavement healing; wisdom in deep listening; helper as a good friend (Kalayanamitra); the four principles virtuous existence (Bharmavihara 4) and the community of practice


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๓๐ ปฏิบัติการจิตตปัญญาศึกษาเพื่อสังคม ๓ (๑-๖-๒)
CECE 530 Socially Engaged Practicum in Contemplative Education

          การบูรณาการความรู้ทั้งหมดที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตร การดูแลทางจิตวิญญาณ การจัดกระบวนการเรียนรู้ หรือการสร้างสรรค์สื่อ การประยุกต์และปฏิบัติการจริงที่สอดคล้องกับธรรมชาติและความต้องการของหน่วยงานหรือองค์กร

          An integration of all the knowledge learnt from the program, spiritual care, contemplative facilitation, or media-art creation; implementations and practices suitable for nature and needs of the organizationss


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๓๑ จิตตศิลป์ ๑ (๑-๐-๒)
CECE 531 Contemplative Arts

          ประสบการณ์ตรงและการใคร่ครวญอย่างลึกซึ้งผ่านงานศิลปะหลากหลายแขนง วรรณกรรม จิตรกรรม ดนตรี การถ่ายภาพ และภาพยนตร์ การพัฒนาความสัมพันธ์กับตนเอง ผู้อื่นกับสังคม ตลอดจนกับธรรมชาติ

          Direct experience and deepened introspection through various art works, literature, painting, music, photography, and film; relationship development with self, others, society, and nature


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๓๒ นพลักษณ์และการเติบโตทางจิตวิญญาณ ๑ (๑-๐-๒)
CECE 532 Enneagram and Spiritual Growth

          การสืบค้นตัวตนผ่านกรอบนพลักษณ์ด้วยวิธีการแบบการเล่าเรื่อง รูปแบบของกิเลส ความคิดยึดติด จุดใส่ใจกับสิ่งหลีกเลี่ยง กลไกการป้องกันตัวเอง ภาวะของปีกและจุดมั่นคง จุดเครียด ลักษณ์ย่อย คุณธรรมและบารมีประจำลักษณ์ การสัมภาษณ์ลักษณ์ แผนปฏิบัติการส่วนบุคคลเพื่อการเติมโตและการเป็นอิสระจากลักษณ์

          Self – inquiry through the eye of the Enneagram on narrative tradition; patterns of passion; fixation; basic desire and avoidance; defense mechanism; wings and stress-security points; subtypes; virtue and holy ideas; enneatype interviews; personal action plan for growth and release from type


หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๕๓๓ งานวิจัยเรื่องเล่า ๑ (๑-๐-๒)
CECE 533 Narrative Research

          กระบวนทัศน์งานวิจัย ความหมายของเรื่องเล่าในงานวิจัย ประเภทของงานวิจัยเรื่องเล่า บทบาทของผู้เล่าเรื่ิอง ศึกษาตัวอย่างงานวิจัยเรื่ิองเล่า การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และฝึกเขียนงานวิจัยเรื่องเล่า จริยธรรมในงานวิจัยเรื่ิองเล่า

          Research paradigm; meaning making of narrative in research; narrative research genres; first–order and second-order narrative examples of narrative research; data collection, data analysis, practice of narrative research; ethics in narrative research


     (๓) วิทยานิพนธ์

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ ๑๒ (๐-๓๖-๐)
CECE 698 Thesis

          การกำหนดหัวข้อโครงการวิจัยทางจิตตปัญญาศึกษา การดำเนินการการวิจัยที่มีจริยธรรม การรวบรวม การวิเคราะห์ การแปลผลและอภิปรายผล การรายงานผลในรูปของวิทยานิพนธ์การเสนอและพิมพ์งานวิจัยในวารสารมาตรฐาน หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการ จริยธรรมการนำเสนอผลงานวิจัย

          Identifying contemplative education research proposal; conducting research with concern of research ethics; data collection, analysis, interpretations and discussions of the result; research reporting in terms of thesis; presenting and publishing research in standard journals or conferences’ proceedings; research reporting ethics


     (๔) สารนิพนธ์

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จศจศ ๖๙๗ สารนิพนธ์ ๖ (๐-๑๘-๐)
CECE 697 Thematic Paper

           การกำหนดหัวข้อโครงการทางจิตตปัญญาศึกษา การดำเนินโครงการโดยใช้หลักจริยธรรมการเขียน และการนำเสนอรายงานโครงการ จริยธรรมสำหรับการเขียนรายงานและการนำเสนอ

           Identifying contemplative education project proposal; conducting projects with concern of ethics; writing and presenting project reports; ethics for presenting and publishing reports



Views : 2531