โครงการย่อย 1 มหาวิทยาลัย มหิดล วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน 2563 ผ่านระบบ Zoom


โครงการย่อย 1 มหาวิทยาลัย มหิดล พื้นที่วิทยาเขตศาลายา พญาไท และบางกอกน้อย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 4 จังหวัดขอนแก่น และสำนักงานกองทุนสนับสนุน
การสร้างเสริมสุขภาพ

ดำเนินการจัดกิจกรรม สุขสัญจรออนไลน์: อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว ครั้งที่ 3 หัวข้อ ลงตัวกับความเศร้า ในวันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน 2563
เวลา19.00 – 20.00 น. ผ่านระบบ Zoom มีจำนวนผู้เข้าร่วม 105 คน

ความเศร้ามักส่งผลต่อกระบวนการใช้เหตุใช้ผล เกิดกระบวนการหมกมุ่นครุ่นคิด คิดวกวน ซึ่งในคนที่ไม่ได้มีอาการซึมเศร้า เมื่อคิดไปสักพักก็อาจจะนึกได้ว่าช่างมัน แล้วหยุดการคิดวกวนนั้น ออกไปหาอะไรกินหรือหาอะไรทำ แต่คนที่คิดวกวนบ่อยๆ จะถึงจุดที่ดิ่งจมลงไป ไม่ยอมออกจากความคิดนั้น และทำให้ยิ่งหาทางออกยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเหตุผลที่คิดอยู่นั้นทำให้พลังใจหดลง ทำให้คุณค่าความหมาย ความเชื่อ และความศรัทธาในตัวเองหายไป นี่เกิดจากวงจรการทำงานของสมอง เมื่อเราทำความรู้จักแบบแผนของความคิดที่วกวน พอจับอาการหมกมุ่นและคิดวกวนได้ การระลึกได้แบบนี้จะช่วยให้เราตื่นขึ้นและจะสามารถมีทางเลือกให้กับตัวเองได้ด้วยการไปหาอะไรอย่างอื่นทำ การช่วยตัดวงจรความคิดวกวนเช่นนี้จึงช่วยลดความต่อเนื่อง หรือการจมดิ่งกับอาการเศร้า เราสามารถฝึกรู้เท่าทันกับอาการคิดวกวนได้บ้างหรือไม่ เช่น เมื่อกำลังคิดวกวน หมกมุ่น เราจับอาการนั้นได้ และหยุดวงจรนั้นได้ ดังนั้น การยอมรับความรู้สึกที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมาเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุด การยอมรับความเศร้าคือ การที่เราเห็น รับรู้ และรับได้ที่มีความเศร้าเกิดขึ้น ไม่มีอาการต่อต้าน ไม่มีคำถามว่าทำไมถึงเป็น แบบนี้

"สุขสัญจรออนไลน์: อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว" ครั้งที่ 4 หัวข้อ ลงตัวกับความกลัว ในวันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน 2563 เวลา 19.00 – 20.00 น. ผ่านระบบ Zoom มีจำนวนผู้เข้าร่วม 67 คน ธรรมชาติของความกลัว ความกลัวเป็นความรู้สึกแรกๆ ที่เกิดขึ้นในมนุษย์ ซึ่งถูกออกแบบโดยธรรมชาติที่จะดูแลมนุษย์เราให้ปลอดภัย เราเรียนรู้ที่จะกลัวเมื่อตัวเรากับโลกแยกออกมา เป็นเรา เป็นเขา ความกลัวคือความไม่มั่นคงภายใน เวลาที่พูดถึงความกลัว เราต้องมาแยกแยะให้ชัดว่ากลัวอะไร กลัวการถูกปฏิเสธ กลัวไม่ได้รับการยอมรับ กลัวดูไม่ดีในสายตาคนอื่น เหล่านี้เป็นเรื่องของความไม่มั่นคงภายใน ในตอนที่เราเป็นเด็กๆ และเกิดความกลัว ความไม่มั่นคง เราจะได้รับการดูแลให้รู้สึกอบอุ่น ปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อมและคนรอบข้างที่ดูแลเรา ดังนั้นเพราะกลัวจึงต้องเผชิญ ความกลัวที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์ความรู้สึก เราก็ทำแบบเดียวกัน คือการค่อยๆ ให้ตัวเราได้เผชิญอารมณ์ความรู้สึกนั้น ว่ามันทำให้เกิดอะไรขึ้นในร่างกายหรือในจิตใจเรา ซึ่งก็ค่อยๆ ทำทีละขั้นจากความกลัวเล็กๆ น้อยๆ
.
หลัก 3 ประการที่สำคัญ คือ
1) การยอมรับว่าความกลัวเป็นเรื่องปกติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ และเราสามารถเรียนรู้ที่จะอยู่กับความกลัวด้วยความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยได้
2) ความกลัวไม่ใช่ความอ่อนแอ
3) สอนให้เด็กยอมรับความล้มเหลว ให้เรียนรู้ว่าเราพลาดได้แม้จะทำเต็มที่แล้ว ให้ความผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นเรื่องปกติที่เราสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่ได้เพียงมุ่งหวังเฉพาะผลลัพธ์ที่ปลายทางเท่านั้น ความผิดพลาดไม่ใช่เรื่องน่ากลัว

ภาพกิจกรรม


Views : 159
เนื้อหาในหน้านี้มีประโยชน์หรือไม่ ( -/5)
ให้คะแนน