โครงการ “หยั่งรากจิตตปัญญา สู่สังคมแห่งความสุข: การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงจากภายใน” ปี 2564 กลุ่มย่อยที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต


       ชื่อหัวข้อ  :  กลุ่มย่อยที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 
สถานที่  :  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

วันที่      :  วันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2564
เวลา     :  09.00-17.00 น.


โครงการ หยั่งรากจิตตปัญญาสู่สังคมแห่งความสุข : 

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงจากภายใน


กลุ่มย่อยที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มีการจัดปฐมนิเทศให้กับบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตในวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2564 ทั้งนี้มีผู้บริหารมหาวิทยาลัย คืออธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตให้การต้อนรับและเปิดการปฐมนิเทศ ทีมกระบวนกรได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากอาจารย์ผู้เข้าร่วมซึ่งในวันแรกแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาจารย์ผู้สอนรายวิชาพัฒนาตนและกลุ่มอาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ในช่วงแรกกระบวนกรขอให้ผู้เข้าร่วมเขียนความคาดหวังต่อโครงการอยากพัฒนาตนเองเรื่องอะไรเพื่อให้เราใช้ชีวิตอย่างมีความสุข (การใช้ชีวิตการเรียนการสอน ครอบครัว ตัวเอง ฯลฯ) ตัวอย่างความคาดหวัง เช่น อยากมีความสงบทางอารมณ์  ต้องการพัฒนาระบบการเรียนการสอนการเข้าใจธรรมชาติของคนรอบข้างความกล้าแสดงออก  อยากได้เทคนิคและกระบวนการที่สามารถนำไปใช้ได้จริงๆเทคนิคที่ทำให้เด็กที่ไม่ได้สนใจจิตตปัญญาหันมาสนใจได้  อยากมีความมั่นคงทางอารมณ์อยากนำแนวทางการจัดกระบวนการไปใช้ในห้องเรียนและการจัดกิจกรรมกับนักศึกษาและชุมชนอยากสามารถออกแบบกระบวนการได้ อยากเข้าใจแนวคิดวิธีการจิตตปัญญาให้ถ่องแท้  ใช้ชีวิตอย่างมีสติ มีสุข สร้างสังคมน่าอยู่ จิตฯลฯจากนั้นมีการเตรียมความพร้อมให้ผู้เข้าร่วมโดยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่วัดระดับแรงจูงใจที่อยากเข้าร่วมโครงการ วัดระดับความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอนหรือจัดกระบวนการเรียนรู้ 1-4(น้อยไปหามาก)

วันที่สองของทีมกระบวนกรได้เยี่ยมชั้นเรียนตัวอย่างจากอาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ผู้ที่นำกระบวนการจิตตปัญญามาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน ในรายวิชาความเป็นครู โดยอาจารย์เริ่มจากให้นักศึกษาฝึกสมองซีกซ้ายและขวาเป็นการเริ่มต้นปลุกพลังจากนั้นเช็คอินด้วยเพลงที่บ่งบอกถึงสภาวะในใจในวันนี้ บรรยายเรื่องหน้าที่ของครูฟังนิทานเรื่องเท็ดดี้ จากนั้นให้นักศึกษาตั้งชื่อเรื่องใหม่ฟังแล้วรู้สึกหรือคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เกี่ยวข้องอะไรกับเราอยากเปลี่ยนตอนไหนของเรื่องเพราะอะไร ให้นักศึกษาชมคลิปวิดีโอผู้เสียสละและให้สะท้อนดังนี้ 1. ความรู้สึกขณะดูคลิปวิดีโอ 2. นักศึกษาคิดว่าผู้ที่จะประกอบวิชาชีพครูควรจะมีจิตวิญญาณความเป็นครูหรือไม่อย่างไร 3. ในอนาคตหากนักศึกษาประกอบอาชีพครู นักศึกษาจะเป็นครูแบบใด


ภาพกิจกรรม


Views : 133
เนื้อหาในหน้านี้มีประโยชน์หรือไม่ ( -/5)
ให้คะแนน