กลุ่มย่อยที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

โครงการ “หยั่งรากจิตตปัญญาสู่สังคมแห่งความสุข
: เส้นทางสู่สุขภาวะทางปัญญา”
++++++++++++++++++++
กลุ่มย่อยที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ดำเนินการจัดอบรม Training of Trainer ผ่านโปรแกรม Zoom meeting วันที่ 29-30 กันยายน และ 1 ตุลาคม 2564 มีบุคลากรผู้เข้าร่วมจำนวน 15 คน เริ่มต้นกิจกรรมจากการ Check in ความรู้สึกภายใน จากนั้นสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ ซึ่งในสถานการณ์โควิด 19 นี้ภูมิคุ้มกันทางใจเราอ่อนแอกันมาก การด่าทอ กล่าวโทษ สารพัดเรื่องที่ทำให้เราแย่ลงมากขึ้น การมีภูมิคุ้มกันทางใจจะเหมือนการที่เราฉีดวัคซีน ขั้นแรกคือเราทำให้ร่างกายได้รู้จักเชื้อโรค และจดจำเชื้อ ในส่วนของทางใจก็เช่นกัน เราก็ทำให้ใจเรารู้จักไวรัสทางใจไว้ก่อนบ้าง เช่น ความเครียด ความกังวล ความผิดหวัง เสียใจ เบื่อ โกรธ อิจฉา ฟุ้งซ่าน น้อยใจ ฯลฯ เมื่อไวรัสทางใจเข้ามา ใจจะตอบสนองอย่างไร หน้าที่ของเราคือจดจำให้แม่น เราจะเริ่มเห็นว่าเป็นมัน เริ่มเห็นการปรากฏตัวของมัน ใครปล่อยไวรัสมาไม่รู้ แต่ไวรัสมันเกิดแล้ว มีเหตุภายนอกแต่ก่อเกิดจากภายใน เราจะรับผิดชอบได้ ถ้าเรามองว่าเป็นเรื่องของเรา หาเวลานิ่ง ๆ สังเกต แค่รับรู้ด้วยใจที่เป็นกลาง นี่คือการเพิ่มภูมิคุมกันให้จิตใจ คนที่มีภูมิคุ้มกันทางใจดี ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เครียด ไม่กังวล หน้าที่ของเราไม่ใช่ฆ่าไวรัส แต่เป็นการเข้าใจมัน ว่าธรรมชาติของมันเดี๋ยวมันก็ไป รู้ทันเมื่อมันมา ไม่หลงเชื่อมัน ฝึกบ่อย ๆ วางใจบ่อย ๆ ก็จะเกิดความชำนาญ ปฏิกิริยาที่มารบกวนจะสั้นลง เราไม่มีทางขจัดความคิด ความกลัว ความกังวล เราไม่มีทางขจัดมันได้ แค่เรารับรู้มันบ่อย ๆ เห็นมันบ่อย ๆ จะเกิดความตระหนักรู้และยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น จากนั้นแนะนำเรื่องของการประเมินผลในการทำวิจัยต่าง ๆ โดยครั้งนี้ทางทีมงานได้แปลเอกสารข้อคำถามเพื่อให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้ร่วมพิจารณาว่า ข้อคำถามต่อไปนี้จะสามารถนำไปใช้ในชั้นเรียนได้อย่างไรบ้าง ซึ่งมีที่มาจากงานวิจัยของ University of Hong Kong :ซึ่งมีที่มาจากการพัฒนาแบบสอบถามเพื่อให้นักเรียนได้ตอบได้ชั้นเรียน เพื่อให้เห็นข้อพัฒนาหรือความเข้าใจที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ซึ่งการประเมินความเข้าใจของผู้เรียนเพื่อให้เกิดการพัฒนานั้นมี 4 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับคุ้นชิน 2) มีความเข้าใจเนื้อหาบ้าง 3) มีข้อคำถามมีข้อสงสัย 4) สิ่งที่ได้เรียนได้ชั้นเรียนมีการเปลี่ยนความเชื่อ ความศรัทธาเดิม ๆ

ภาพกิจกรรม


Views : 91
เนื้อหาในหน้านี้มีประโยชน์หรือไม่ ( -/5)
ให้คะแนน