ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ร่วมกับวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการประชุมเวทีเครือข่ายความร่วมมือดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดนครสวรรค์


ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ร่วมกับวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลจัดการประชุมเวทีเครือข่ายความร่วมมือดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดนครสวรรค์

 

วันจันทร์ที่๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา และโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดประชุมเวทีเครือข่ายความร่วมมือดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดนครสวรรค์ณ ห้องประชุมนิภาธรรมวงศ์ ของวิทยาเขต โดยมีนายชยันต์ศิริมาศผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์เป็นประธาน และมีหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดนครศวรรค์รวมทั้ง รองนายกเทศมนตรี เทศบาลนครนครสวรรค์และหัวหน้าส่วนงานในเทศบาลตลอดจนครูของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์เข้าร่วมและมีอาจารย์ แพทย์หญิงมนทกานติ์ โอประเสริฐสวัสดิ์รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ รองศาสตราจารย์ ดร.ลือชัย  ศรีเงินยวง และอาจารย์ ดร.จิรัฐกาล  พงศ์ภคเธียร ผู้อำนวยการฯ และ รองผู้อำนวยการ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษาร่วมให้การต้อนรับ

  รองศาสตราจารย์ ดร.ลือชัย  ศรีเงินยวง และอาจารย์ ดร.จิรัฐกาล  พงศ์ภคเธียร ได้กล่าวรายงานถึงความเป็นมาของการจัดการประชุมในครั้งนี้ว่าสืบเนื่องมาจากโครงการวิจัย เรื่อง“โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเชิงระบบเพื่อการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาของเด็กนอกระบบพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์”ที่ศูนย์จิตตปัญญาและวิทยาเขตนครสวรรค์ได้ดำเนินการมาภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.)โดยโครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาทำความเข้าใจเพื่อแก้ปัญหาเด็กนอกระบบและเด็กเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษากิจกรรมสำคัญของโครงการนี้คือการใช้กระบวนการประเมินเพื่อการพัฒนา (DevelopmentalEvaluation) เป็นกรอบการทำงาน มีกิจกรรมหลักคือการพัฒนาเครือข่ายครูทีทำงานกับเด็กหลังห้องในโรงเรียนเทศบาลโดยใช้กระบวนการจิตตปัญญา ภายใต้ชื่อโครงการ “ครูเพื่อเด็ก : การดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน” ซึ่งมีครูฝ่ายปกครองครูแนะแนวจากโรงเรียนสังกัดเทศบาลทั้ง ๙แห่ง โรงเรียนสตรีนครสวรรค์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ และโรงเรียนนครสวรรค์ เข้าร่วม เนื้อหาของการประชุมดังกล่าวคือการร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาเด็กกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ และการเรียนรู้การใช้เครื่องมือจิตตปัญญาเช่นการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep listening) ทักษะการสื่อสารระหว่างครูกับลูกศิษย์และการสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกศิษย์ฯลฯ ผลของการจัดกิจกรรมดังกล่าวพบว่าได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับครูที่เข้าร่วมและต่อเนื่องไปถึงห้องเรียนและเด็กนักเรียนเช่น ครูสามารถรับฟังปัญหาของเด็กได้อย่างลึกซึ้งสามารถสร้างพื้นที่ความปลอดภัยให้เด็ก ครูเกิดความเข้าใจและลดการตัดสินเด็ก มีการเปลี่ยนแปลงห้องปกครองให้เป็นห้องแห่งความรักความเมตตา ฯลฯ ผลจากการวิจัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะยกระดับการทำงานเพื่อเด็กในจังหวัดนครสวรรค์ ให้มีระบบ นโยบาย และรูปแบบการทำงานที่ชัดเจนขึ้น

  จากนั้น นายชยันต์ ศิริมาศผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ได้กล่าวให้ความเห็นว่าโครงการดังกล่าวที่เป็นความช่วยเหลือทางวิชาการจากนักวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดลและที่สำคัญคือวิทยาเขตนครสวรรค์นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งและควรได้นำไปขับเคลื่อนต่อ พร้อมทั้งเปิดพื้นที่หารือร่วมกันกับหัวหน้าส่วนราชการฝ่ายต่างๆ ในการเชื่อมโยงและสานต่อการดูแลเด็กทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษาเพื่อสานต่อนโยบายเรื่อง ZeroDropout ของทางรัฐบาลโดยใช้เรื่องของจิตตปัญญาเข้าไปปรับทัศนคติความเข้าใจของครู ผู้ปกครอง รวมไปถึงเด็กกลุ่มเสี่ยง การดูแลและส่งต่อไปในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสาธารณสุขจังหวัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ฯลฯ  ทั้งนี้ทางนายจตุรวิทย์ นิโรจน์ธนรัฐรองนายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ เห็นว่าเครื่องมือทางจิตตปัญญา จะมาช่วยเติมเต็มครูผู้ปกครอง ในการช่วยเหลือและดูแลเด็กไม่ให้หลุดนอกระบบ ได้รับเรื่องไปดำเนินการในส่วนของโรงเรียนเทศบาลต่อไป


ภาพกิจกรรม


Views : 97
เนื้อหาในหน้านี้มีประโยชน์หรือไม่ ( -/5)
ให้คะแนน