กิจกรรมการบ่มเพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กลุ่มเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ


ชื่อหัวข้อ  : กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจตนเองสู่การเข้าใจผู้อื่น สำหรับกลุ่มคณาจารย์จากเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 5 แห่ง

        สถานที่   :  ณ วิชชิ่งทรี รีสอร์ท จังหวัดขอนแก่น
วันที่ : เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2565
เวลา : 8.00-17.00 น.



กิจกรรมการบ่มเพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

กลุ่มเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ

 

กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจตนเองสู่การเข้าใจผู้อื่น สำหรับกลุ่มคณาจารย์จากเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 5 แห่ง ประกอบไปด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดและมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2565 จำนวน 21 คน ณ วิชชิ่งทรี รีสอร์ท จังหวัดขอนแก่น เริ่มต้นจากการสอบถามความคาดหวังของการเข้าร่วม ตัวอย่างเสียงสะท้อน เช่น ต้องการนำความรู้ทีได้รับไปทดลองใช้และร่วมเรียนรู้กับนักศึกษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจตนเองและผู้อื่น สร้างความสัมพันธ์อันดี อยากพัฒนาตนเองเพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักตนเองเร็วมากขึ้น มีวิธีการการดูแลตนเอง ฯลฯ จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมทบทวนเส้นทางความเป็นครู มิติที่มีบทบาทในชีวิตของเราทุกคนคือเป็นเรื่องงาน วัดระดับมิติต่าง ๆ ในชีวิตของเราตามโจทย์ ให้ผู้เข้าร่วมบอกเล่า เส้นทางความเป็นครูเรามีความท้าทาย ความยากอะไรเกิดขึ้นที่ส่งผลต่อความสุขความทุกข์ของเราและความประทับใจในความเป็นครูโดยบอกเล่าผ่านกระบวนการฟังกิจกรรมการฟังเพื่อสืบค้นตัวตน การเรียนรู้เรื่อง Fixed และ Growth Mindset เรื่องอำนาจกับการจัดการเรียนการสอน อำนาจ 3 แบบ (อำนาจเหนือ อำนาจร่วม และอำนาจภายใน) และแหล่งอำนาจ โดยชวนให้ผู้เข้าร่วมมองข้อสังเกต ความเชื่อมโยงกับชีวิต
การถอดบทเรียนจากภาพยนตร์เรื่อง Freedom Writers จากนั้นให้สะท้อนบทเรียนสำคัญที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเสียงสะท้อน เช่น เปลี่ยนที่ตัวเราก่อน มองเห็นสิ่งที่เรามองข้ามไปก่อน เห็นท่าทีในความรีบร้อน ใจร้อนของตนเอง สมาธิของตนเองที่หายไปบ้างแต่เรียกคืนกลับมาได้เร็ว จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมเปิดพื้นที่การเรียนรู้ โดย Being ของครูต้องเปิดรับทั้งสองด้านทั้งดีและไม่ดี ทักษะการจัดการอารมณ์ เราสามารถจัดการได้เราจะส่งผ่านไปยังลูกศิษย์ได้ทักษะการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ทักษะการแสวงหาความรู้ เรียนรู้ จับประเด็นที่ผ่านมาเราเรียนแบบท่องจำศักยภาพในตัวเราน้อยมาก เราเข้าใจไม่ต้องจำ ต้องจดได้ ครูจะทำหน้าที่เปิดการเรียนเรียนรู้ แปลงการสอนให้เป็นการเรียนรู้ได้มากขึ้น
นำความรู้ภายนอกให้เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ภายในจากผู้เรียน หัวใจสำคัญของการสร้างพื้นที่การเรียนรู้คือสร้างให้ทุกคนได้เรียนรู้การเรียนรู้เกิดจากผู้เรียนเราเป็นเพียงผู้นำพาการเรียนรู้มีพื้นที่การเรียนรู้มีหลายแบบผ่านเนื้อหา องค์ความรู้ เวลา ความสัมพันธ์ โครงงานเชื่อมโยงชีวิตในการเรียนรู้ แหล่งที่มาของความรู้ ที่สำคัญไม่ต้องยึดติดเครื่องมือ ครูคุณอำนวยที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ มีทักษะภายนอกและภายในควบคู่กันไป
ถ้าครูสามารถสร้างพื้นที่การเรียนรู้จะช่วยฟื้นฟูศักยภาพความเป็นมนุษย์ในตัวผู้เรียน
ซึ่งจะค่อยๆเกิดขึ้น สั่งสมไปเรื่อย ๆ ค่อย ๆ ตลกผลึกการเปลี่ยนแปลงในใจไป ถ้าเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงจะเข้ามารับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของชีวิตเขามากขึ้น เหมือนตัวเราที่รับผิดชอบในการสอนของเรา ครูสร้างให้เขารักในการเรียนรู้ มีแรงบันดาลในใจการเรียนรู้ (Love To Learn) การเรียนรู้แบบ Active มากขึ้น (Learn To Learn) การที่เด็กไม่ต้องเป็นฝ่ายตั้งรับรอครูฝ่ายเดียว รวมทั้งปรับตัวเข้ากับปัญหา บริบท สถานการณ์ตรงหน้าได้ (Learn To Live) รวมทั้งการส่งต่อความรักไปยังผู้อื่นสิ่งอื่น (Learn To Love) จากนั้นชวนผู้เข้าร่วม ฝึกทักษะตั้งคำถามเพื่อให้เห็นทบทวนอำนาจภายในในตัวเอง โดยให้จับคู่เล่าและฝึกตั้งคำถามผ่านโจทย์ 1.ประสบการณที่เราอยู่ใช้อำนาจเหนือ 2.ความสุข ความทุกข์ในความเป็นอาจารย์ของเรา

โดยภาพรวมพบว่าการได้มาของผู้เข้าร่วมการที่รับสมัครจากแต่ละราชภัฏแต่ละแห่ง
ทำให้ได้คนที่มีฉันทะในการเรียนรู้จริง ๆ ทำให้มีความกระตือรือร้น ตั้งใจทำกิจกรรมทุกกิจกรรม ทำให้ได้เรียนรู้ลงลึกเข้าไปในตัวเอง ต่อยอดจากสิ่งที่จัวเองมีประสบการณ์มา เป็นผู้เข้าร่วมที่มีคุณภาพ มีพลังในการเรียนรู้ ผู้เข้าร่วมมีพลังการเรียนรู้สูง พร้อมที่จะเปิดตัวเอง เทประสบการณ์ โดยเฉพาะความเปราะบาง ความทุกข์ การเรียนรู้เป็นพื้นที่ปลอดภัยทำให้เขาพร้อมที่จะทำงานกับตัวเอง โดยเฉพาะร้อยเอ็ดที่พร้อมที่จะลงลึกกับตัวเอง อาจารย์ผู้ชายตอนหลังเริ่มเปิดตัวเองมากขึ้นและเริ่มสนุกไปกับกิจกรรม มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตัวเองดี เข้าออกตรงต่อเวลา ไม่มีท่าทีของการต่อต้าน ส่วนใหญ่เป็นพลังบวก

ภาพกิจกรรม


Views : 69
เนื้อหาในหน้านี้มีประโยชน์หรือไม่ ( -/5)
ให้คะแนน