กลุ่มอาจารย์การพยาบาลและการสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ จัดกิจกรรมหัวข้อ Nature Connection


ชื่อหัวข้อ  : กลุ่มอาจารย์การพยาบาลและการสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ จัดกิจกรรมหัวข้อ Nature Connection

        สถานที่   : ณ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร
วันที่ : วันที่ 29-30 ตุลาคม 2565
เวลา : 8.30-17.00 น.


กลุ่มอาจารย์การพยาบาลและการสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
จัดกิจกรรมหัวข้อ Nature Connection

กลุ่มอาจารย์การพยาบาลและการสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ จัดกิจกรรมหัวข้อ Nature Connection ตั้งแต่วันที่ 29-30 ตุลาคม 2565 ณ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 14 คน โดยครั้งนี้เป็นการเรียนรู้ในเรื่องของการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ (Nature Connection) ซึ่งตัวกิจกรรมนี้จะนำพาผู้เข้าร่วมไปถึงจุดไหนขึ้นอยู่กับความรู้สึกและประสบการณ์ของแต่ละคนด้วย บางคนอาจได้ลึกไม่เท่ากัน ความรู้สึกและประสบการณ์จะเป็นตัวนำพาไปให้เข้าใจโดยไม่ได้เป็นการบังคับหรือสร้างความบีบคั้น ต้นไม้ต้นเดียวกัน อาจมี การรับรู้ที่แตกต่างกัน และกิจกรรมนี้คือการเตรียมเราให้อยู่ในระดับที่เรียนรู้ได้ ทั้งนี้ กิจกรรม Nature Connection จะดีต้องมี 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) กระบวนกร 2) สถานที่ 3) กระบวนการ 4) ผู้เข้าร่วม ซึ่งสำคัญมากเพราะแต่ละคนมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน การเรียนรู้ที่ได้ก็จะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ Check in ความรู้สึกหัวข้อ “ฉันกับธรรมชาติ” Sound Map การฟังเสียงธรรมชาติ การถ่ายภาพโดยใช้สายตาเพื่อเปิดมุมมองของตนเองกับธรรมชาติ การวาดภาพปะจุดเพื่อการภาวนาในรูปแบบ Contemplative drawing โดยวันแรกมุ่งเน้นให้ตนเองกลับมาอยู่กับธรรมชาติในใจตนเอง วันที่สองเริ่มส่งต่อและเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบ ๆ ตัว ผ่านกิจกรรม As a tree ให้ทุกคนเดินรอบ ๆ พื้นที่เพียงลำพัง เมื่อได้ยินเสียงระฆังขอให้หยุด พิจารณาความรู้สึกของตนเองที่เหยียบบนพื้นหญ้า และขอให้ฟังสัญญาณเกียร์ โดยหากมีการประกาศเริ่มเกียร์ ๒ ขอให้เดินเร็วขึ้น และเกียร์ 3 เร็วขึ้นตามลำดับ และขอให้ฟังบทอ่านต้นไม้ ให้เปรียบตนเองเป็นต้นไม้ จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมลดความกังวลที่ปกคลุมใจ พยายามเดินสำรวจพื้นที่ เปิดใช้อาตยนะทั้งหมดด้วยใจที่สบาย ลองดูสิ่งที่เกิดขึ้น ลองดูว่าเราจะพบเจออะไรใหม่ๆหรือไม่ จิตตปัญญาเป็นการเรียนรู้ที่ผ่านประสบการณ์จริง ความหมายที่พูดจากใจ เห็นคุณค่าของกิจกรรมนั้น ๆ และขอให้สังเกตว่า อะไรหรือสิ่งใดกิจกรรมใดที่ดึงดูดเรา และอะไรเป็นสิ่งที่ผลักใส ทำให้ได้สะท้อนตัวเราให้เกิดการเรียนรู้ตนเอง ได้กลับเข้ามาดูตนเองอย่างไร ขอให้ดำเนินเพียงลำพังห้ามพูดคุย จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมภาวนากับบทภาวนาแห่งผืนดิน และเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของกิจกรรมคือ Nature Wisdom คือ ให้หาจุดที่ดึงดูดเราให้เข้าไปสัมผัส พยายามเป็นส่วนหนึ่งของตรงจุดนั้น ประมาณ 30 นาที แล้วดูว่าเกิดการเรียนรู้ เกิดการเข้าใจใหม่ หรือได้คำตอบอะไรบางอย่าง ตัวอย่างเสียงสะท้อนจากผู้เข้าร่วม เช่น ธรรมชาติทำให้เราวางได้ และมีความสุขเมื่อค้นพบประสบการณ์ใหม่ๆได้ การเปลี่ยนมาสัมผัสกับธรรมชาติที่หลากหลายทำให้เปิดประตูหาความสุขได้ง่ายขึ้น, ช่วยให้ค้นพบพลังที่แท้จริง พอได้สัมผัสกับธรรมชาติรู้สึกว่า การพักผ่อนที่แท้จริงคืออะไร ทำให้สงบจิตใจ ได้พลังบวกมากมาย เห็นการเปลี่ยนแปลงของตนเอง มือถือไม่ได้จับเลย มองแต่ต้นไม้ มองธรรมชาติแบบมีความสุขมีทางเลือกในการหาความสุขเครื่องมือนี้โดนมาก, เป็นความสุขที่รับรู้ได้โดยไม่ต้องพึ่ง Social รู้สึกนิ่ง มีสมาธิได้แบบไม่ฟุ้งซ่าน เวลาหมดไปเร็วกว่าที่คิด เป็นห้องเรียนธรรมชาติที่เพิ่งเคยได้สัมผัส มีอะไรที่มากกว่าที่คิดไว้ ฯลฯ

ภาพกิจกรรม


Views : 59
เนื้อหาในหน้านี้มีประโยชน์หรือไม่ ( -/5)
ให้คะแนน