กลุ่มคณาจารย์จากเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 5 แห่ง ได้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อุดรธานี สกลนคร เลย และร้อยเอ็ด จัดมหกรรมจิตตปัญญา


ชื่อหัวข้อ  : กลุ่มคณาจารย์จากเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 5 แห่ง ได้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อุดรธานี สกลนคร เลย และร้อยเอ็ด จัดมหกรรมจิตตปัญญา
วันที่ : 23-24 มีนาคม 2566

เวลา : 8.30-17.00 น.



กลุ่มคณาจารย์จากเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 5 แห่งได้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อุดรธานี สกลนคร เลย และร้อยเอ็ด จัดมหกรรมจิตตปัญญาในวันที่ 23-24 มีนาคม 2566 ซึ่งเปิดให้ผู้สนใจทั่วไปรวมไปถึงนักศึกษาเข้าร่วม มีผู้เข้าร่วมจำนวน150 คน โดยวันแรกช่วงเช้ามีการเสวนา “การขับเคลื่อนจิตตปัญญา ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ”โดยผศ.ดร.หิรัญ ประสารการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ผศ.ดร.ยุวธิดา ชาปัญญาคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด  ผศ.ดร.พุฑฒจักร สิทธิคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร  อาจารย์สุธาสินี ธนัฐปิตินันท์รองคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย รศ.ดร.สุนิสา วงษ์อารีย์ผู้แทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ลือชัย  ศรีเงินยวง ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญามหาวิทยาลัยมหิดล ตัวอย่างการขับเคลื่อน “ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มีเป้าหมายคือ การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ถึงแม้ภาพภายนอกภูเก็ตมีคนมองว่าเมืองท่องเที่ยวดูมีความสุข แต่ดัชนีความสุขของคนภูเก็ตกลับค่อนข้างไม่มีความสุข เครียดนักศึกษาก็มีความเครียด พอเรียนรู้จิตตปัญญาศึกษาก็เป็นตัวช่วยบรรเทาหลาย ๆอย่างปัจจัยหลักคือทุนทางมนุษย์โดยเฉพาะบุคลากรทั้งอาจารย์ผู้บริหารและสายสนับสนุน นอกจากนี้คือทุนแห่งความสุขถ้าบุคลากรมีความสุขเขาก็จะดึงศักยภาพออกมาได้อย่างเต็มที่ เราได้แนวร่วมหลายคณะเมื่อเขาเข้าใจตรงกัน ร้องเพลงเดียวกัน เมื่อเป็นแบบนี้ก็จะทำให้เกิดมีความสุขนักศึกษาเข้ามาก็มีความสุข เราเปิดรายวิชาพัฒนาตน เอากิจกรรมต่าง ๆเครื่องมือจิตตปัญญาเข้ามาบูรณาการในรายวิชาเมื่อเด็กได้เรียนเขาก็ขอบคุณว่าเขาเรียนอะไรบ้าง เขาได้ดึงศักยภาพอะไรบ้างในแต่ละชั้นเรียนที่เราเข้าไป เราเห็นเด็กมีแววตาที่มีแต่พลัง มีความมุ่งมั่นตรงนี้คือสิ่งที่เราเห็นความเปลี่ยนแปลง อาจารย์ผู้สอนก็มีความสุขมากขึ้นทุกคนไม่มีเงื่อนไขในการใช้ชีวิตในการทำงาน เพื่อมหาวิทยาลัยในส่วนของผู้บริหารก็พยายามสร้างความเข้าใจให้เรียนรู้กับเรื่องนี้ตรงนี้ยังไม่มีการทำวิจัย แต่เด็กมีการ drop out น้อยลงอีกสิ่งที่ไม่ทราบว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ มี Health Literacy แต่ตอนนี้กำลังติดตาม Language Literacy ปรากฏว่ามีผลคะแนนภาษาอังกฤษดีขึ้นในส่วนบุคลากรการให้บริการต่าง ๆ ดีขึ้น เรารับการร้องเรียนน้อยลงตอนนี้เราลงไปในรายวิชา General Education และสิ่งเหล่านี้คือเห็นได้จากการที่นำจิตตปัญญาเข้ามาในมหาวิทยาลัยกลุ่มแกนนำเหมือนเป็นกลุ่มที่เป็นต้นกล้าที่จะนำแนวทางเหล่านี้เข้าไปในมหาวิทยาลัยนอกจากนี้ยังทำไปในเรือนจำในสถานพินิจของเด็กและเยาวชนด้วยถ้าสังคมมีความเข้าใจตนเอง เข้าใจซึ่งกันและกัน สังคมก็จะมีความสุขมากขึ้น”,  “จากโครงการหยั่งรากที่มาหยั่งรากที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรสิ่งที่เห็นคือการเกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ แรก ๆ เราเป็นกลุ่มคณะครุศาสตร์แต่เพอเดินไปเรามีเพื่อนจากคณะอื่น ๆ ทั้งคณะพยาบาลศาสตร์ กองพัฒนานักศึกษา ฯลฯสิ่งที่เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สิ่งแรกที่เปลี่ยนแปลงเช่น ได้ครูคนใหม่ได้ภรรยาคนใหม่ เป็นครูที่สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กมากยิ่งขึ้นเรามี่ครูที่มีความตระหนักรู้ในตนเองมากยิ่งขึ้น เข้าใจผู้ผื่นมากยิ่งขึ้นเมื่อครูมีความสุข เราก็หวังได้ว่าห้องเรียนก็จะมีความสุขด้วยนอกจากนี้มีการเกิดชุมชนแห่งการเรียรู้ซึ่งกันและกันในการจัดกระบวนการเรียนการสอนมีการขอความเห็น แลกเปลี่ยนความเห็น ตรงนี้ทำให้เกิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ในส่วนกองพัฒนานักศึกษามีเจ้าหน้าที่เข้ามาร่วมในการอบรมด้วยก็มีการดำเนินการกับนักศึกษา ตอนแรกนักศึกษามองภาพว่ามาอบรมน่าจะเป็นเรื่องยากน่าจะต้องมาฟังคำบรรยาย สิ่งที่นักศึกษาสะท้อนคือ ไม่ยากเพราะเป็นเรื่องของตนเองทำให้เราได้กลับมาใคร่ครวญ เขาได้เห็นตัวเองชัดขึ้นมีเป้าหมายในชีวิตตนเองมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเด็กมาจากหลายคณะเห็นมวลแห่งความสุขที่เกิดขึ้นในโครงการหยั่งรากลงในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี”ฯลฯ

          จากนั้นมีเสวนาบทเรียนจากโครงการหยั่งรากจิตตปัญญาสู่สังคมแห่งความสุขโดยตัวแทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ 5 แห่ง เช่น “...มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครจิตตปัญญาเป็นวิชาที่ไม่ต้องเร่งรีบเพื่อที่จะแข่งขัน ต้องเป็นวิชาที่พัฒนาข้างในอยากใช้คำว่า slow soul จิตวิญญาณอย่างช้านแต่มั่นคงจากภายในถ้าเราค่อย  ๆ ขับเคลื่อนในรายวิชาต่าง ๆเรามีวิชาจิตตปัญญาศึกษาเขาไปใช้ มีการปรับปรุงรายวิชา General Education มีการปรับจิตตปัญญาเข้าไปแล้ว รายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์เราสอนลูกศิษย์ไม่ใช่เอาอะไรไปสอน แต่เราเอาตัวเราเข้าไปสอนเราสามารถสร้างแกนนำเล็ก ๆ ไปสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ PLC มีการแบ่งปันเรามาที่นี่ได้เพราะเราอยากจะแบ่งปันแลกเปลี่ยน การแลกเปลี่ยนคือสิ่งสำคัญวิชานี้อยากเสนอให้ทุกมหาวิทยาลัยนำไปปรับใช้...” , “...ศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ตอนนี้กำลังพัฒนาหลักสูตรในส่วนของคณะครุศาสตร์เรามีศูนย์พัฒนาครู จะดำเนินการขยายผลไปสู่นักศึกษาโดยมี 4 ชั้นปีให้เรียนรู้ 4ด้าน ปีที่ 1 บ่มเพาะความเป็นครู ปีที่ 2 รอบรู้ด้านการสอน ปีที่ 3 เป็นนักนวัตกรและปีที่ 4 เอื้ออาทรต่อสังคม ดังนั้นเราจะเริ่มต้นที่ครูของครูคือต้องเริ่มจากตัวครูผู้สอนก่อน ก่อนที่จะขยายไปยังนักศึกษาสิ่งที่ผ่านมาเราได้พัฒนาครูของครู ต้องขอบคุณอาจารย์แกนนำของมหาวิทยาลัย 6 ท่านซึ่งเป็นกำลังที่สำคัญของราชภัฏ จะมีการพัฒนาครูของครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ทำกับครูในโรงเรียนในเครือข่ายกว่า200 โรงเรียน ที่ต้องพัฒนาจากด้านใน เพื่อนำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตรงนี้คือหัวใจหลักของการหยั่งรากความงอกงามตรงนี้ในวิชารายวิชาของเลยมีพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน ซึ่งน่าจะนำไปสู่ตรงนี้ได้ข้อดีของจิตตปัญญาคือเราไม่ต้องเสียเงินแพง ๆ แต่เราสามารถเล่าเรื่องสุขทุกข์ด้วยเราสามารถสร้างพื้นที่ความปลอดภัยได้” ฯลฯ

              ช่วงบ่ายมีการทำกิจกรรมworldcafé ในหัวข้อ 1) จิตตปัญญาศึกษาในการรับรู้ของเรา และ 2)การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในตนเองความในครูของเรา การทำงาน การสอน การบริการวิชาการ (สำหรับคนที่ผ่านการอบรมจิตตปัญญามาแล้ว)3) เราเข้าถึงคุณค่าและความหมายของความเป็นครูอย่างไรรวมไปถึงการระดมภาพอนาคตที่แต่ละแห่งจะดำเนินการ เช่น ขยายกลุ่มแกนนำทีมอาจารย์ เพิ่มสมาชิกในทีมงานและถ่ายทอดไปยังคนอื่น  การนำไปเชื่อมโยงในกลุ่มวิชาเอกและเลือกเสรี  การบูรณาการในชั้นเรียน  การบูรณาการไปในชุมชนขับเคลื่อนโรงเรียนแห่งความสุข (โรงเรียนสาธิต) บริการวิชาการไปยังโรงเรียนเครือข่ายในเขตบริการ(ฝึกสอน)  พัฒนาหลักสูตร “พัฒนาคน”สำหรับองค์กร ฯลฯ

              ในวันที่24 มีนาคม 2566 มีกิจกรรมแบ่งเป็น 4 ห้องย่อย คือ กลุ่มที่ 1จัดดอกไม้จัดใจ กลุ่มที่ 2 เกมไพ่ไขชีวิต กลุ่มที่ 3 การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) กลุ่มที่ 4 บุคลิกภาพเชิงกงล้อสี่ทิศ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมลงทะเบียนเข้าร่วมกลุ่มละประมาณ25-30 คน ช่วงบ่ายให้ชมนิทรรศการกิจกรรมต่าง ๆ ที่เครือข่ายลงไปดำเนินการ


ภาพกิจกรรม


Views : 59
เนื้อหาในหน้านี้มีประโยชน์หรือไม่ ( -/5)
ให้คะแนน