กลุ่ม Mindful Campus มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 6-8 ตุลาคม พ.ศ.2566


กลุ่ม Mindful Campus มหาวิทยาลัยมหิดล
กิจกรรมความร่วมมือระดับท้องถิ่นในการพัฒนาสถานศึกษาจิตศึกษา ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6-8 ตุลาคม พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วม 27 คน โดยวัตถุประสงค์ของกิจกรรมครั้งนี้เป็นการเชื่อมสัมพันธภาพและเสริมสร้างความเข้าใจการดำเนินงานรวมกันของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องภายใต้โครงการย่อยที่ถูกพัฒนาขึ้นจากความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน Mindful Campus สู่นครสวรรค์เมืองแห่งความสุขและการตื่นรู้ (นครสวรรค์โมเดล)
ผู้เข้าอบรมครั้งนี้ ประกอบด้วย ครู ผู้แทนองค์กรท้องถิ่น ผู้แทนคณะกรรมาการขับเคลื่อน Mindful campus และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตนครสวรรค์ โดยกิจกรรมมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้นำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ที่เรียกได้ว่า “งานได้ผล คนมีความสุข” ซึ่งมีด้วยกัน 3 องค์ประกอบ ได้แก่
1.แนวทางการทำงานร่วมกัน เป้าหมายร่วมกัน เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น หัวใจสำคัญ คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันรับผิดชอบ มีทางเลือกในการแก้ปัญหา
2.ความสัมพันธ์ที่ดี หมายถึง ในองค์กรไม่มีความขัดแย้ง ถ้ามีจะสามารถแก้ไขความขัดแย้งได้ มีการพูดคุยแลกเปลี่ยน ความสุข ความทุกข์ ในชีวิตเมื่อการทำงานดีจะส่งเสริมการทำงาน หลายครั้งที่เราทำงานสำเร็จแต่ความสัมพันธ์ไม่ดีเราจะเกิดความทุกข์ ดังนั้น ทักษะการฟังเป็นทักษะในการพัฒนาสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างความสัมพันธ์
3.ภาวะผู้นำ การนำมีความหลากหลาย ไม่ผูกขาดว่าใครคือผู้นำ สามารถผลัดกันนำและผลัดกันตามได้ บนพื้นฐานของการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมทำ ร่วมรับผิด ที่จะทำให้เกิดแง่มุมใหม่ๆ ตลอดเวลา
โดยกระบวนกรออกแบบกิจกรรมให้เป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่มีกิจกรรมหลากหลาย เช่น
o วันที่ 6 ต.ค. 2566 มีกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ ภูเขาไฟระเบิด จักรวาลจัดสรร ปิดตาดึงเชือก
o วันที่ 7 ต.ค. 2566 มีกิจกรรมการฟังอย่างลึกซึ้ง ผู้นำสี่ทิศ
o วันที่ 8 ต.ค. 2566 มีกิจกรรม ห่วงหรรษา ครูในดวงใจ
.
ทั้งนี้ ในแต่ละกิจกรรมการอบรมผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างสนุกสนาน และร่วมกันถอดบทเรียนสำคัญที่ได้จากกิจกรรมซึ่งกระบวนกรให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นการทำให้ผู้เข้าอบรมได้ใคร่ครวญ สะท้อนคิด และแบ่งปันความรู้สึก ความคิดเห็น ที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ของการรับฟังกันและกัน รวมถึงการเห็นจุดหมายและทิศทางการดำเนินงานพัฒนาสถานศึกษาจิตศึกษา ซึ่งได้รับข้อสะท้อนสำคัญจากครูที่เข้าร่วมกิจกรรม ดังตัวอย่างนี้
.
ตัวอย่างเสียงสะท้อนถึงคุณสมบัติของครูและห้องเรียน
- บรรยากาศ ปลอดภัย เชื่อใจ วางใจ
- ความไว้ใจ ความใส่ใจ ของครู
- ครูเข้ากับเด็กได้
- การสัมผัสกับครู การกอด ครูให้ความรักกับเด็ก
- สร้างความเสมอภาคในห้องเรียน เท่าเทียม
- สร้างกิจกรรมให้เด็กรวมตัวกัน
- การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน
- การปฏิบัติ ทดลอง ทำทุกอย่างด้วยตนเอง
- เป็นแม่คนที่ 2 ให้เด็กไว้ใจ
- ความสัมพันธ์ที่ดีของเพื่อนในห้องเรียน ทำให้เด็กอยากมาโรงเรียน
- เด็กไม่แกล้งกัน อยู่รวมกันอย่างมีความสุข ความสามัคคี
- เสริมแรงบวกให้เด็ก มีรางวัลให้เด็กในกิจกรรมนั้น ๆ เสริมกำลังใจ
- สร้างแรงจูงใจเด็ก ให้รางวัลเด็ก การโอบกอด
- ทักทายตั้งแต่พ่อแม่ของเด็ก ชวนพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก
- เปลี่ยนบรรยากาศในการเรียน มีกิจกรรมกลางแจ้ง ให้เด็กได้ปลดปล่อยพลังออกมา
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้ปกครอง
- จัดกิจกรรมที่หลากหลาย มีผู้นำและผู้ตาม
- เด็กมีปัญหา ครูต้องมีทักษะในการฟัง และช่วยดูแลจิตใจของเด็ก
อย่างไรก็ตาม ในก่อนปิดการอบรมกระบวนกรชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญที่ต้องเตรียมสำหรับการพัฒนาสถานศึกษาคือ ครู และ หน้าที่ของครู คือ สร้างและเปิดพื้นที่การเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมและกระบวนการต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพื่อเปิดให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน ได้ลงปฏิบัติจริง ลองผิด ลองถูก และต้องเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เด็กไม่แกล้งกัน เด็กที่มีความสัมพันธ์ที่ดีในห้องเรียน มีความเสมอภาค มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เด็กกล้าคิดกล้าแสดงออกอะไรใหม่ๆ ในมุมมองของเขาเอง จะส่งผลให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้ รู้สึกมีเรียนจูงใจในการเรียนรู้ เด็กจะเชื่อมั่นในตัวเอง ได้พัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์ตั้งแต่เด็ก เรียกว่า “Love to Learn”

ภาพกิจกรรม


Views : 26
เนื้อหาในหน้านี้มีประโยชน์หรือไม่ ( -/5)
ให้คะแนน