กลุ่มคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการโมดูล Happy Teacher, Happy Class วันที่ 21-24 ตุลาคม 2566



กลุ่มคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการโมดูล Happy Teacher, Happy Class
ภายใต้โครงการการศึกษาด้วยปัญญา ความรัก และความสุข
สำหรับครูผู้ยกระดับการเรียนรู้และการเยียวยาจิตใจ
ระหว่างวันที่ 21-24 ตุลาคม 2566
ณ คำแสด ริเวอร์แคว รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี


มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 17 คน ประกอบด้วย คณาจารย์ผู้เข้าร่วมอบรมจากคณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล 12 คน ทยากร/กระบวนกร 4 คน และหัวหน้าโครงการ 1 คน
โดยกิจกรรมเน้น “ปัญญาแห่งการสื่อสาร” ที่แฝงด้วยความเข้าใจ และความกรุณาต่อผู้อื่น ทั้งที่เป็นการใช้ถ้อยคำวัจนะภาษา และอวัจนะภาษา ด้วยเป้าหมายของการสื่อสารที่เป็นไปเพื่อเอื้ออำนวย (Facilitation) ยกระดับ (transformation) เปิดโอกาส (openness) ให้ผู้อื่น เสริมกำลัง (encouraging) เข้าใจร่วมรู้สึก (empathic understanding) ฝึกฝนความอ่อนน้อม (humbleness) และความนับถือในผู้อื่น (respect)
.
ในการอบรมสมาชิกได้เรียนรู้ผ่านการบรรยายแบบสืบค้น (contemplative dialogue) เรียนรู้กระบวนการรับฟังและดูแลจิตใจ ที่เป็นการเรียนผ่านแบบฝึกหัดในกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อยการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ โดยวิทยากรอาจารย์โสรีช์ โพธิแก้ว
วันที่ 21 ต.ค. 2566 ฝึกมุทิตาจิต เข้าใจสัปปุริสธรรม 7 ทศพิธราชธรรม มองทุกสิ่งด้วยความเข้าใจอันกว้างขวางลึกซึ้ง การฟังที่ดีก่อให้เกิดปัญญา สร้างบรรยากาศเอื้อเฟื้อเกื้อกูลในห้องเรียน เกื้อกูล ไม่ก้าวก่าย เข้าใจความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง อยู่กับทุกสิ่งด้วยปัญญา ไม่ปฏิเสธโลกแต่ปรับตัวอยู่กับทุกอย่างตามความเป็นจริง
วันที่ 22 ต.ค. 2566 ฝึกเป็นที่ว่าง ไอคิโด: วิถีแห่งความกลมกลืน เพื่อฝึกเชื่อมโยงประสบการณ์กับชีวิต สังเกตท่าทีที่เราเข้าไปอยู่กับธรรมชาติ หากท่าทีแบบนี้ไปปรากฏอยู่กับในห้องเรียน เกิดกับในบ้าน ตัวเรามีท่าทีอย่างไร มันช่วยให้บรรยากาศในที่นั้นเป็นอย่างไรบ้าง
● นิ่ง ไม่ร้อนรน เป็นหลักให้เขา
● เป็นพื้นที่เปิด (ท่าทีเปิดเป็นอย่างไร ทำอย่างไรเขาถึงอยากจะเข้ามา-สัมผัสลูกศิษย์อย่างที่เขาเป็น
● ใจที่ไม่ตัดสิน ปราศจากอคติ
● เป็นพื้นที่ว่างๆ กว้างๆ ให้เขา
วันที่ 23 ต.ค. 2566 สัมผัสความงาม “Lose your mind and come to your senses.” และเรียนรู้เรื่อง disease เชื้อโรคของจิตใจ
ผู้เข้าอบรมได้มีโอการเรียนรู้ ฝึกฝน “สมานัตตา” ในการสนทนาของตนให้สอดคล้องกลมกลืนกับผู้อื่น ฝึกสังเกตปรากฏการณ์ในจิตใจตนซึ่งปรากฏออกมาเป็นการสื่อสารและการกระทำในทุกขณะของการดำเนินชีวิต
วันที่ 24 ตุลาคม 2566 ฝึกฝนในวิถีแห่งปัญญา ความรัก และความสุข ด้วยกระบวนการสนทนาใคร่ครวญในเรื่องเกี่ยวกับ ปัญญา ความรัก และความสุข ที่สมาชิกจะนำมามาฝึกฝนในชีวิตประจำวัน โดยเริ่มจากความเข้าใจชีวิตที่จะทำให้ครูต้อนรับความจริงและเห็นความรักและความงามในชีวิต การได้ทบทวนถึงความรักที่แท้ และมีความสุขเป็นผลที่เกิดขึ้นทั้งต่อตนเอง ห้องเรียน และรอบตัว ขอเพียงมีพื้นที่ใจมากพอเพื่อต้อนรับทุกสิ่งซึ่งอาศัยการฝึกให้เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ทั้งนี้ ผู้เข้าอบรมหลายท่านได้สะท้อนการเรียนรู้ที่ตกผลึกกับตนเอง เช่น
“Happy Class เริ่มจากเราก่อน จิตว่าง ไม่ทุกข์ ไม่คาดหวัง”
“ครูที่เป็นสุข คือครูที่เปลี่ยนโลก”
จากนั้น ช่วงท้ายการอบรมโมดูลครั้งนี้ ผู้เข้าอบรมได้แบ่งปัน keyword ตกผลึกความเข้าใจ รวมทั้งนำเสนอโครงการเพื่อพัฒนาบรรยากาศการเรียนการสอนในห้องเรียน หรือ ในบริบทงานของตนเอง แล้วทิ้งท้ายด้วยการฝึกหัด พรหมวิหาร คือวิหารที่ประเสริฐ ซึ่งต้องอาศัยใจที่ใหญ่ นึกเมตตาให้ผู้อื่นเป็นสุข อยากช่วยแก้ไข สะท้อนผ่านโครงการที่ผู้เข้าอบรมตั้งใจกลับไปทำเป็นการบ้าน และจะมานำเสนออีกความคืบหน้าในกิจกรรรมครั้งต่อไปในเดือน ม.ค. 2567 ดังนี้
.
“สมานัตตตา” - ฝึกให้ตัวเองมีพื้นที่ว่าง เพราะหากเดินเข้าไปในห้องแล็ปเด็กน่าจะรับรู้ได้ โดยสื่อสายตา ส่วนเด็กที่อยู่ในความดูแล ก็จะทดลองอยู่กับเด็กสามคน จะชวนเด็กสามคนช่วยกันเปลี่ยนชื่อกลุ่ม ICU (เพื่อนในกลุ่มเสนอชื่อว่า ไอ ซี – I See u ) เด็กมาสายก็จะเข้าไปฟังเด็กอย่างจริงจังและหากชี้แนะได้ก็จะพยายาม ติดตามผลเป็นระยะ ทั้งนี้อาจมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์จริง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้คือให้เด็กมาเรียนให้ทัน ส่งงานตามกำหนด ได้เกรด C ดูหน้าตาแฮปปี้ขึ้น
“คลินิกใจสบาย”-ในวิชาคลินิกทำยังไงให้เราอยู่กับคนตรงหน้าได้จริง เป็นที่ว่าง ฟังให้กับเด็ก เด็กรู้สึกได้ว่าเรากำลังฟังอยู่กับเขาจริงๆ ประโยชน์- ให้นักเรียนใจสบายมากขึ้น
“พื้นที่ว่าง” - เวลามีใครมาคุยด้วยจะวางโทรศัพท์ลง วางงาน วางตัวตน วางทุกสิ่งอย่างลง เมื่อมีใครมาคุยกับเรา มาอยู่กับคนตรงหน้า ทุกครั้งที่มีโอกาส กลุ่มเป้าหมายอาจเป็นนักศึกษาชั้นปี 4 ที่เป็นที่ปรึกษา
“Jet Team ของเรา” โดยนำหลักการ I do my thing… คือเราวางใจให้ทีมคิดเสนอวิธีการและตัดสินใจร่วมกัน โดยคาดแต่ไม่หวัง คาดหวังว่าสมาชิกในทีมรู้สึกเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในทีม ตัวเองต้องฝึกที่จะวางใจและช่วย moderate ให้เกิดขึ้น
“ต้าซคลินิก” – เป้าหมายให้นักศึกษาเรียนรู้อย่างมีความสุข ที่มาคือนักศึกษาเรียนรู้ได้เมื่อรีแลกซ์ เมื่อไม่มีความกลัว ความกังวล โดยพบว่านักศึกษากังวลอยู่สองเรื่องคือ ยากเรียน ยากคนไข้ โดยจะขอไปออกแบบกิจกรรมเพิ่ม ในส่วนของตนเองจิตว่างพร้อมเชื่อม ไม่มีคาดหวัง ไม่มีตัวตน ไม่มีน่าจะ แล้วเข้าไปสื่อสารเพื่อรับฟังนักศึกษา ส่วนของการเรียนรู้ จะคอยรับฟัง สังเกต ไม่ยัดเยียด เป็นพื้นที่ที่นักเรียนสามารถพูดได้ ไม่ตัดสินถูกผิดเก่งไม่เก่ง ประโยชน์คาดว่านักศึกษาอย่างน้อย 75% มีพัฒนาการด้านทันตกรรมเด็กอย่างมีความสุข ประเมินจากรอยยิ้มและจากรีเฟลกชั่น
“สังเกตใจ”- วิธีการ ตื่นขึ้นมาจะยิ้มให้กับทุกสิ่ง และสังเกตใจตนเอง หากพบช่วยที่ปี๊ด หรือวิตกกังวล ก็จะสังเกตใจ มีสติ ดำเนินการพรุ่งนี้เป็นต้นไปถึง 17 ม.ค ประโยชน์ต่อตนเอง ต่อตนรอบข้าง เราก็จะมีความสุขเพิ่มขึ้น มีผลต่อคนข้าง
Journal Journey “เจอนั่นเจอนี่”- การเรียนรู้ในใจตนเองผ่านการเขียน เมื่อลงคลินิก จะขอให้อาจารย์ทุกคนเขียนว่าสังเกตพบอะไรในเด็กที่เราตรวจวันนี้ เขียนอย่างซื่อตรงตามเซ้นส์ทั้งหมดที่มีอย่างอิสระ กลางเทอมอาจเอามารวมกันแล้วมาแลกเปลี่ยนร่วมรู้ร่วมกันโดยมุ่งหวังว่าเมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้เกิดการเจริญเติบโตทางจิตใจเพิ่มขึ้น
“My bisect”- แยกความคิดออกจากใจ วิธีการรับทุกอย่างโดยไม่เอาความคิดแทรก ที่เจอบ่อยคือ นักเรียนมักถามสิ่งที่ให้อ่านไปแล้ว เราชองเอ๊ะว่า ไม่อ่านเลยหรอวะ ก็จะไม่เอาความคิดไปแทรก ไม่ต้องคาดหวัง
“รับฟังอย่างเข้าใจ”- ที่ผ่านมามีเด็กมาคุยด้วยแต่ไม่แน่ใจว่าดีหรือยัง ก็จะกลับไปมุ่งรับฟังปัญหาของเด็ก โดยทำใจให้ว่างในการรับฟังเด็กจริงๆ อย่างที่เขาเป็น ไม่ใช่การคิดแก้ปัญหา ผลที่เกิดขึ้นเราก็จะเข้าใจได้ และอาจจะเกิดปัญญาขึ้นมาโดยที่เราอาจไม่ต้องพูดเลยว่าต้องทำยังไง

ภาพกิจกรรม


Views : 34
เนื้อหาในหน้านี้มีประโยชน์หรือไม่ ( 5.00/5)
ให้คะแนน