หลักสูตรการสื่อสารด้วยหัวใจ ครั้งที่ 1 (9-10 ส.ค.2560


"หลักสูตรการสื่อสารด้วยหัวใจ"

ครั้งที่ 1 (9-10 ส.ค.2560)

ในโครงการหลักสูตรการอบรมเพื่อการพัฒนาข้าราชการครู ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กิจกรรมนี้ได้ช่วยแก้ไขปัญหาที่คุณครูมักต้องเผชิญในแต่ละวัน เช่น

"เราจะสื่อสารอย่าไรให้เข้าถึงใจของนักเรียน"

"พูดเท่าไหร่...นักเรียนก็ไม่ฟังเราสักที"

"สื่อสาร​อย่างไร...ให้ได้ใจนักเรียน"

"สื่อสาร​อย่างไร...เพื่อคลี่คลายความขัดแย้ง"

"การสื่อสารในเชิงบวกทำอย่างไรดี"

"การสื่อสารด้วยความคิด กับ การสื่อสารด้วยความรู้สึก ต่างกันอย่างไร"

โดยกิจกรรมการอบรมนี้จะช่วยให้คุณครู

"เรียนรู้กลับมาที่ตนเองอย่างมีสติ ได้ทบทวน ทำความเข้าใจที่มาของความคิดและความรู้สึกที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการสื่อสาร”ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา


    

    


“นอกจากนี้จะได้เข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้อื่น"ที่พัฒนาขึ้นโดย เวอร์จิเนียร์ ซาเทียร์ (Virginia Satir) ที่จะทำให้เข้าใจประสบการณ์ภายในของมนุษย์ ให้เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ที่เปรียบเสมือนเพียงแค่ส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นที่เรามองเห็นโผล่พ้นน้ำออกมา และมองเห็นความรู้สึก ความคิด ความเชื่อ ความหวัง และความต้องการที่แท้จริงที่เป็นประสบการณ์ภายใน เป็นที่มาของพฤติกรรมนั้นที่เปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ในน้ำที่เรามองไม่เห็นใต้น้ำ




“เรียนรู้การสื่อสารอย่างสันติ" ที่พัฒนาขึ้นโดยดร.มาแชล โรเซนเบอร์ก (Marshall Rosenberg) ที่เน้น การเข้าใจตนเอง" เป็นรากฐานที่สำคัญ ที่เปรียบเสมือนรากของต้นไม้ "การรับฟังและเข้าใจผู้อื่น" เป็นหัวใจหลัก ที่เปรียบเสมือนแก่นของต้นไม้ และ"การสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้อย่างจริงใจ"เกิดเป็นประโยชน์ที่เปรียบเสมือนกิ่งก้านของต้นไม้ที่มี 4 องค์ประกอบของการสื่อสารอย่าง ดังนี้

1.การสังเกต และ การตีความเพื่อให้รับรู้ในสถานการณ์อย่างแท้จริงไม่คลาดเคลื่อนตามประสบการณ์ของตนเอง

2.ความรู้สึก และ ความคิดเพื่อให้เข้าถึงจิตใจภายในของคู่สนทนา

3.ความต้องการ และ วิธีการเพื่อให้เกิดการตอบสนองที่ถููกต้องตรงตามความต้องการบนวิธีการที่หลากหลาย

4.การขอร้อง และ คำสั่งเพื่อให้การสื่อสารตรงตามความรู้สึกที่แท้จริง ไม่เกิดเป็นปัญหาทางด้านสัมพันธภาพ


ด้วยรูปแบบของกิจกรรมกลุ่มเพื่อการแบ่งปันและฝึกฝนตลอดระยะเวลา 2 วันเพื่อให้คุณครูสามารถสื่อสารให้ได้ใจทั้งนักเรียน เพื่อนร่วมงาน และสมาชิกครอบครัว


    

    

และนี่คือส่วนหนึ่งของเสียงสะท้อนจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้

ทำให้เราคิดได้ว่าจากเดิมที่เวลาเด็กมาเล่าเรื่องของตัวเองให้เราฟัง ด้วยความเป็นครู ความเป็นผู้ใหญ่ เราก็อัตตาสั่งสอนเขาไปว่าเธอต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้สิ แต่พอเข้าร่วมกิจกรรมแล้วเราก็ค้นพบว่า เราควรที่จะต้องตั้งใจฟังเขาให้สุดทางสุดศอกก่อน แล้วเราจะเข้าใจเขาอย่างแท้จริง

คุณครูป้อม (คุณครูบุญนิสา ผักไหม ร.ร.ห้วยทับทันวิทยาคม)

"กระบวนการทำให้เรารู้สึกว่ามันน่าประหลาดใจที่เราได้เล่าระบายความรู้สึกออกมาได้อย่างเต็มที่กับคนแปลกหน้าที่ไม่ได้รู้จักกันมากก่อน ซึ่งต่างจากเมื่อก่อนที่เราเล่ากับคนคุ้นเคย เช่น คนในครอบครัว หรือคนรู้จัก เราก็ยังไม่ได้ระบายความรู้สึกมันออกมาได้ขนาดนี้"

คุณครูเอลี่ (คุณครูเอลิสา กิติกำจาย ร.ร.อนุบาลนนทบุรี)

"รู้สึกอยากสวน อยากเสริม อยากแสดงความรู้สึกโต้ตอบทันทีในตอนแรกตามความเคยชิน แต่พอเรานึกถึกว่าเราควรอดทนกับตัวเอง ข่มใจที่เป็นผู้ฟังที่ดีและฟังเขาอย่างเดียว เราก็เข้าใจเขามากขึ้น ปัญหาเขาก็ชัดเจนและความรู้สึกของปัญหาที่แท้จริงก็ออกมาด้วย ทำให้เราชัดเจนและเข้าใจปัญหามากกว่า ที่เราฟังเขาแค่ 2-3 ประโยคแรกตามที่เราคิดไว้ตอนแรกและเมื่อเขาเล่าหมด เราก็สัมผัสได้ว่าเขาโล่งใจ เขาสบายใจ เขามีความสุข เป็นสิ่งที่เราสัมผัสได้จริงๆ”

คุณครูเมี่ยว (คุณครูรัชนีย์ ปริกขนานนท์ ร.ร. มัธยมฐานบินกำแพงแสน)

" ในขณะที่เราเล่าเราสัมผัสได้ถึงภาษากายที่เขาสื่อออกมาทางแววตาว่าเขาพร้อมที่จะรับฟังแม้ว่าเขาไม่ได้พูดอะไร ทำให้เรากล้าที่จะกล้าที่จะระบายด้วยความรู้สึกที่รู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย”

คุณครูมด (คุณครูสงวนจิตร กัญญาบุญ ร.ร.บ้านดินดำเหล่าเสนไต้)

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวและบรรยากาศเพียงบางส่วนของกิจกรรมการอบรม"การสื่อสารด้วยหัวใจ" ครั้งที่ 1และทางศูนย์จิตตปัญญาศึกษามีการอบรม "การสื่อสารด้วยหัวใจ" ครั้งสุดท้ายในวันที่ 28-29 กันยายน 2560 นี้

ภาพกิจกรรม


Views : 266
เนื้อหาในหน้านี้มีประโยชน์หรือไม่ ( -/5)
ให้คะแนน