เวทีจิตตปัญญาเสวนา ครั้งที่ 61 หัวข้อ “สุข...สัญจร”


ชื่อหัวข้อ  :  "เวทีจิตตปัญญาเสวนา ครั้งที่ 61 "
สถานที่    :  ห้องประชุมสระบัว ชั้น 1อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ 
   มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)

วิทยากร   :  รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาลย์ ศิลปกิจ

 (ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา) 

  อาจารย์ ดร.สุปรียส์กาญจนพิศศาล 

  อาจารย์ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา)

                  และมีคุณชุลีพร รัมยะรังสิ 

  (เจ้าหน้าที่งานทรัพยากรบุคคลคณะเวชศาสตร์เขตร้อน)

วันที่       :  วันที่ 16 lสิงหาคม พ.ศ.2560

 เวลา 13.00 -16.00 น


เวทีจิตตปัญญาเสวนา ครั้งที่ 61 หัวข้อ “สุข...สัญจร”

วันพุธที่ 16 สิงหาคม 2560 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมสระบัว อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) 

เวทีจิตตปัญญาเสวนาครั้งที่ 61 นี้ เป็นการร่วมพูดคุยสรุปปิดกิจกรรม “สุข...สัญจร”ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหยั่งรากจิตตปัญญาสู่สังคมแห่งความสุขที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ร่วมเสวนาโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาลย์ ศิลปกิจ และ อาจารย์ ดร.สุปรียส์กาญจนพิศศาล และมีคุณชุลีพร รัมยะรังสิ เจ้าหน้าที่งานทรัพยากรบุคคลคณะเวชศาสตร์เขตร้อน เป็นแขกรับเชิญเพื่อร่วมบอกเล่าถึงประสบการณ์การร่วมกิจกรรม สุข...สัญจร

สุข...สัญจร เป็นกิจกรรมที่เราไม่ได้จัดเพื่อแจกความสุขให้แก่ผู้เข้าร่วมหากแต่เป็นการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เข้าใจเกิดการตระหนักรู้เท่าทันในตนเอง หรือSelf-awarenessนั้นให้เอาใจใส่ที่ตนเอง เพื่อให้รู้ทันความเผลอความหลงในการคิดฟุ้งซ่าน หลงคิดเรื่อยเปื่อย หลงโกรธ หลงเสียใจ หลงดีใจเพราะใจคนเราก็เหมือนลิงที่มันไม่อยู่นิ่ง เราต้องฝึกดึงสติเวลาที่เราหลงทางวอกแวกที่จิตเราเอาไม่อยู่ ซึ่งแนวคิดของเราไม่ได้ห้ามให้หลงแต่ให้ยอมรับว่าความหลงในการคิดฟุ้งซ่านหลงคิดเรื่อยเปื่อย หลงโกรธ หลงเสียใจ หลงดีใจ มันได้เกิดขึ้นในจิตใจของเรา เพราะยิ่งเราฝืนดิ้นรนที่จะไม่รู้สึกมันมันกลับยิ่งรู้สึกเป็นธรรมดาเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาทางอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์โดยธรรมชาติแต่เราสามารถยับยั้งปฏิกิริยาไม่ให้จมดิ่งมากเกินไปความบีบคั้นและความทุกข์ของเราก็จะเบาบางลง การตระหนักรู้เท่าทันจะทำให้เกิดความละเอียดเพื่อให้เอาใจใส่ที่ตนเอง ฝึกใจให้นิ่ง ไม่วิ่งวอกแวกเกิดสติในเวลาที่ใจเราแกว่งไป ให้รู้ทันเวลาที่จิตเราเอาไม่อยู่ ที่เน้นให้รู้ว่าเราหลงบ่อยหลงมากให้รู้ทัน เมื่อรู้ทันว่าหลง แสดงว่าเรากำลังหลงให้เราเห็นตัวเอง และเกิดเป็นความเข้าใจในการดำเนินชีวิตหรือใช้ชีวิตด้วยการเข้าใจชีวิตว่าชีวิตเรานั้นเดี๋ยวมันก็สบาย เดี๋ยวมันก็ไม่ได้ดั่งใจ เดี๋ยวก็ปวด เดี๋ยวก็หายเห็นความเป็นธรรมดาของชีวิตเหมือนเวลาที่เรามักจะพูดสอนบอกคนอื่นว่าเอาน่าเดี๋ยวมันก็ผ่านไปให้รู้ถึงความไม่เที่ยง ไม่ดี ไม่งาม เราเผลอไปบ้าง จะเห็นเท่าทันช้า-เร็วก็ช่างมันแต่ขอให้เราได้เห็น

การตระหนักรู้เท่าทันในตนเอง หรือ Self-Awareness ก็เทียบได้กันกับค่านิยมตัวแรกของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol CoreValue) คือ Mastery หมายถึง การรู้แจ้งรู้จริง สมเหตุสมผล ในวัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัย ในการที่เรารู้แจ้ง รู้จริงและซื่อสัตย์ต่อความคิดความรู้สึกของตนเองมีสติรู้ตัวจากการวางสิ่งที่ผิดๆ ใจเราก็จะแกว่งน้อยลง รู้ทันการเพ่งโทษต่อตนเองและผู้อื่นจะช่วยให้ชีวิตของเรามีความรู้สึกหงุดหงิดน้อยลงทำเรื่องบ้าบอน้อยลง อย่างเช่น ในขณะที่เราทำงานแล้วมีเสียงจากสภาพแวดล้อมมารบกวนทำให้เราหงุดหงิดไม่มีสมาธิในการทำงานเราต้องฝึกที่จะมีสติ ให้อารมณ์ที่เป็นใหญ่ คืองานที่ทำอยู่ตรงหน้าที่เลือกว่าจะใส่ใจอยู่กับงาน เพราะเรามีงานต้องทำ เป็นหน้าที่เพราะเรารับเงินเดือนแต่ในขณะนี้มีคนพูดโวยวายเสียงดังทำให้เราใจเรารู้สึกรำคาญก็เหมือนเป็นงานที่เพิ่มขึ้นมาให้เราได้จัดการมีอารมณ์เป็นหนึ่งอย่างอื่นเราก็รับรู้ว่าเกิดขึ้นแต่เราไม่ใส่ใจกับสิ่งที่มารบกวนเหล่านั้น เมื่อมีสติเราก็จะสามารถตัดทอนความรำคาญนั้นไม่เผลอไปเพิ่งโทษคนอื่นที่พูดเสียงดัง ไม่ให้เราเผลอทำเรื่องบ้าๆบอๆขึ้นโดยอาจจะลุกไปเข้าห้องน้ำ หรือไปซื้อกาแฟแล้วกลับมาทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ซึ่งความวุ่นวายนั้นมันก็ยังคงอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นแต่เราเลือกที่จะฝึกและวางใจกับมันได้ เปรียบเหมือนเราอยู่ในพายุทอร์นาโดที่แกนกลางของพายุมันจะสงบนิ่ง แต่ถ้าเราเผลอหลุดเข้าไปในวงพายุมันก็จะหมุน ก็ให้เราดึงตัวเองกลับมาอยู่ตรงกลางของพายุที่สงบ

นอกจากนี้คุณชุลีพร รัมยะรังสิเจ้าหน้าที่งานทรัพยากรบุคคลคณะเวชศาสตร์เขตร้อนได้บอกเล่าถึงประสบการณ์จากการร่วมกิจกรรมสุข...สัญจร ว่า เมื่อได้เข้าร่วมกิจกรรมแล้วเหมือนเป็นการจุดประกายให้ชีวิตเหมือนได้ตื่นขึ้นมาเข้าใจว่าเราไม่ได้รู้สึกไม่ชอบตัวเขาแต่แค่เราไม่ชอบในสิ่งที่เขาทำและเราไม่ควรให้ความไม่ชอบของเรามามีอำนาจแล้วกลับมาใส่ใจในงาน ในหน้าที่ของเราหรือสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเรา ทำในสิ่งที่อยู่ตรงหน้าและวางความรู้สึกของเราลงได้เราควรกลับมาใส่ใจกับตนเอง กับความรู้สึกของตนเองทั้งที่ตนเองก็รู้ตัวว่าเป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเองสูงและได้มาเรียนรู้การมีสติเข้าใจว่าควรอยู่ในทางสายกลาง หรือที่พุทธศาสนาเรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา”ไม่ขวาไม่ซ้ายจนเกินไป เมื่อเราได้เห็น ได้เข้าใจ รับรู้ทุกข์รับรู้สุข เพื่อให้เรารู้ว่าเราควรวางแล้วเราก็อยากแบ่งปันให้คนในองค์กรได้เข้าใจตนเองแบบที่เรารู้โดยเราใช้ความสมัครใจในการเข้าร่วมกิจกรรม เรารู้สึกว่าไม่ควรบังคับให้เขามาเข้าร่วมกิจกรรมแต่เรามั่นใจว่าเมื่อมันดีแล้วคนจะบอกต่อกันและเสียงตอบรับในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ดีขึ้น มีคนสมัครเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้นเรื่อยๆจนมีคนสมัครเข้าร่วมกิจกรรม ถึง 160 คน จากบุคลากรทั้งหมด 800 คนซึ่งมันทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน


ภาพกิจกรรม


Views : 285
เนื้อหาในหน้านี้มีประโยชน์หรือไม่ ( -/5)
ให้คะแนน