หลักสูตร จิตตภาวนากับการเยียวยารักษาจิตใจ รุ่นที่ 2
วิทยากร
อ.ดร.เพริศพรรณ แดนศิลป์ และ คุณกวินฉัตระสิริ เมืองไทย
สถานที่อบรม
บ้านกานนิสา ต.บางคูรัด อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
ระยะเวลาอบรม
29 มี.ค. 62 - 30 มี.ค. 62
สถานะ
ปิดรับสมัคร
ระยะเวลารับสมัคร
ปิดรับสมัคร
รายละเอียด
หลักสูตร จิตตภาวนากับการเยียวยารักษาจิตใจ รุ่นที่ 2
วันที่ 29-31 มีนาคม 2562 เวลา 9.00-20.30 น.
ณ บ้านกานนิสา ต.บางคูรัด อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี

หลักการและเหตุผล

ภาวนาเป็นกระบวนการทำให้ “จิตเจริญ” ขึ้น จากการที่ภาวนาจะช่วยให้จิตใจสงบ และสลายคลื่นความเป็นทุกข์ ภาวนาจะอาศัยการสังเกตอย่างถี่ถ้วน ละเอียดรอบคอบ เป็นกระบวนการยกระดับจิตใจของผู้ปฏิบัติให้มั่นคงต้อนรับความเป็นจริง

การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ (Buddhist Counseling) เป็นการนำหลักธรรมแห่งอริยสัจและการภาวนามาเป็นโครงสร้างในการเป็นผู้ช่วยเหลือด้านจิตใจให้มีประสิทธิภาพในการเผชิญปัญหา  และแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยศักยภาพของตนมากขึ้น    ตลอดจนฟื้นฟู เยียวยาจิตใจให้มั่นคง ต้อนรับกับความเป็นจริงของชีวิต

กระบวนการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเป็นอุปกรณ์การเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งเพื่อจะนำคนจากภาวะที่คับแคบ  ยึดมั่น  ซึ่งทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ต่างๆ ไปสู่ภาวะที่ผ่องใส  อิสระ  สงบและมีสุขมากกว่าเดิม  เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่เป็นโทษ  และสร้างสรรค์ พฤติกรรมที่มีคุณค่า  ทั้งต่อตนเอง  ผู้อื่น  และสังคมแวดล้อมมากขึ้น

บุคคลที่ต้องทำหน้าที่ดูแลจิตใจไม่ว่าจะเป็น พระสงฆ์ นักสุขภาพจิต นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ เจ้าหน้าผู้ดูแลช่วยเหลือ ครู แพทย์ พยาบาล นักแนะแนว ผู้ปกครอง ฯลฯ  จึงต้องเรียนรู้ถึงหลักการและวิธีการที่ถูกต้อง  เพื่อประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ของตนเองเพื่อช่วยเหลือบุคคลที่ชีวิตต้องตกอยู่ในความมืดมนหม่นหมองให้เกิดพลังใจสามารถเผชิญชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์

หลักสูตรนี้  เป็นหลักสูตรที่จะมุ่งนำเสนอ กระบวนการภาวนาในงานเยียวยารักษาจิตใจ เพื่อให้บุคลากรที่ทำงานช่วยเหลือด้านจิตใจ เข้าใจศาสตร์จิตวิทยาการปรึกษา สามารถเพิ่มพูนทักษะการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในงานพัฒนา งานป้องกัน งานช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ และการเอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนามนุษย์ให้เกิดสุขภาวะที่ดี ตลอดจนช่วยจุดประกายพลังให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างเต็มอิ่มสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเพื่อนมนุษย์ที่กำลังอยู่ในช่วงเวลาอันมืดมนจะได้เห็นช่องทางสว่างในชีวิต

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเพิ่มพูนทัศนะ คุณค่า และประสิทธิภาพ ในการช่วยเหลือเยียวยารักษาทางด้านจิตใจ
  2. เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจและทักษะในกระบวนการปรึกษาเชิงจิตวิทยาให้แก่บุคลากรช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ
  3. เพื่อเพิ่มพูนความงอกงามส่วนบุคคลของผู้เข้าร่วมโครงการ

เนื้อหาและสาระ

  1. ความต้องการพื้นฐานทางจิตใจและการตระหนักรู้
  2. ภาวนากับความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องธรรมชาติและชีวิต
  3. การปรึกษาเชิงจิตวิทยากับการดำรงชีวิตที่เต็มอิ่มสมบูรณ์ ปราศจากปัญหา
  4. ภาวนากับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและการเกื้อกูลทางจิตใจ
  5. การฟังอย่างลึกซึ้งกับการเยียวยารักษา
  6. ธรรมชาติของจิตใจที่สงบสุข และ จิตใจที่เป็นทุกข์
  7. กระบวนการคลี่คลายความทุกข์และความบีบคั้นทางจิตใจ

สมาชิกผู้เข้าร่วมอบรม

จำนวน ไม่เกิน 25 ท่าน / รุ่น

สำหรับ

บุคลากรที่ทำงานช่วยเหลือด้านจิตใจ และผู้ที่สนใจการภาวนากับการดูแลจิตใจ

วิทยากร

  1. อ.ดร.เพริศพรรณ แดนศิลป์  อาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล / นักจิตวิทยาการปรึกษา
  2. คุณกวินฉัตระสิริ เมืองไทย นักจิตวิทยาการปรึกษาศูนย์ โอปะนะยิโก จิตวิทยาการปรึกษาและการพัฒนาชีวิต / อาจารย์พิเศษ

ลักษณะการอบรม

การอบรมจะมีลักษณะเป็นห้องทดลองปฏิบัติการ  (laboratory learning) ประกอบด้วย การบรรยายแบบสนทนาใคร่ครวญ (contemplative Dialogue) และการฝึกแบบประสบการณ์ตรง (experiential practice)

วิธีการอบรมจึงเป็นการประสานเนื้อหาสาระเข้ากับประสบการณ์ตรงของผู้เรียน โดยผู้เรียนจะได้ประสบตรงกับตนเองผ่านกระบวนการกลุ่ม (group process) แบบฝึกหัด และกรณีศึกษา (exercise &  case study) ที่เสริมให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการฝึกฝนแบบซึมซับสัมผัสกับความรู้ของเนื้อหานั้นด้วยใจของตน (assimilative exercise)


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. การเพิ่มพูนความเข้าใจและทักษะการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแก่บุคลากรเยียวยาจิตใจ
  2. การเพิ่มพูนความเข้าใจในชีวิตที่ถูกต้อง
  3. การเพิ่มพูนคุณค่าทางจิตใจในฐานะพื้นฐานที่สำคัญของการดำรงชีวิต
  4. การเพิ่มประสิทธิภาพในบทบาทการช่วยเหลือของบุคลากรเยียวยาจิตใจ

อัตราค่าลงทะเบียน 6500 บาท /ท่าน
หลัง 15 มีนาคม 2562  ค่าลงทะเบียน จำนวน 6,900 บาท/ท่าน

********ราคานี้รวมพักค้าง*********

ลงทะเบียนที่ :  https://goo.gl/r3Cg3L

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ : https://goo.gl/DK4uRK


***********************************************


Views : 214