เวทีจิตตปัญญาเสวนา ครั้งที่ 70 “งานวิจัย เรื่องเล่า : เส้นทางการสืบค้น คน ตัวตน ชีวิต” On Narrative Inquiry
วิทยากร
วิทยากร 1.นางสาวปรางฉาย คชศิลา(ภาคเอกชน) 2.นางสาวประภาพร อนุมานไพศาล (ภาคเอกชน) 3.นางชรรินชร เสถียร (อาจารย์ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา) 4.นายปฏิพัทธ์ อนุรักษ์ธรรม (อาจารย์ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา)
สถานที่อบรม
ณ ห้องสระบัว ชั้น 1 อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม
ระยะเวลาอบรม
7 พ.ย. 62 - 7 พ.ย. 62
สถานะ
ปิดรับสมัคร
ระยะเวลารับสมัคร
ปิดรับสมัคร
รายละเอียด

หลักการและเหตุผล

จิตตปัญญาศึกษาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนหนึ่งมาจากแนวคิดของนักคิดกลุ่ม“จิตวิวัฒน์” ซึ่งให้ความสำคัญกับ “การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน”ค่อนข้างมาก “บางทีก็เรียกการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานนี้ว่า จิตตปัญญาศึกษา” (ContemplativeEducation) (ประเวศ วะสี, 2550) แกนสำคัญของแนวคิดนี้ตั้งอยู่บนหลักการ (มหาสติปัฏฐานสูตรว่าด้วยจิตตานุปัสสนา)ของพระพุทธศาสนาเถรวาทในการ “ดูจิตตัวเอง” มากพอสมควรการดูจิตให้เกิดปัญญานั้นเพื่อให้เห็นถึงความจริงซึ่งในความจริงนี้เองมีความดีและความงามอยู่ด้วย“การเข้าถึงสิ่งสูงสุด-การเข้าถึงความจริง-จิตสงบ สามองค์ประกอบนี้สัมพันธ์ซึ่งกันและกันและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตน (Personal Transformation)”  (หน้า 56)ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในองค์กร (OrganizationalTransformation) และการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานทางสังคม (SocialTransformation) อันเรียกโดยรวมว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานไตรภาค(Trilogy of Transformation)ซึ่งเป็นหนทางที่จะสร้างศานติสุขบนโลกนี้ได้

เมื่อจิตตปัญญาศึกษาก่อกำเนิดขึ้นในสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องมีการเขียนวิทยานิพนธ์ การ “ดูจิตตนเอง” นั้นจะมีระเบียบวิธีวิจัยใดที่จะสามารถรองรับประเด็นสำคัญดังกล่าวนี้ได้ ระเบียบวิธีวิจัยหนึ่งที่เป็นไปได้คือ“งานวิจัยเรื่องเล่า” ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยนี้มีจุดเริ่มต้นจากการ “ลุกขึ้นสู้”ของกลุ่มบุคคลที่ถูกมองว่าเคยถูกกดขี่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น กลุ่มคนผิวสีกลุ่มผู้หญิง ในช่วงทศวรรษ 1960-1970 เป็นช่วงเวลาสำคัญในการเปลี่ยนแปลงในหลายประเด็น รวมถึงกระบวนทัศน์งานวิจัยด้วยเมื่อผนวกกับกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่แสวงหาแนวทางใหม่ๆ ให้แก่โลกงานวิจัยทางสังคมศาสตร์จึงมีการขยับปรับเปลี่ยน และขยายขอบเขตมาสู่การยอมรับ“เรื่องเล่าของคนตัวเล็กๆ” ซึ่งก็คือเรื่องราวของผู้คนที่ไม่เคยได้เปล่ง “เสียง”ของตัวเอง (Chase, 2005)งานวิจัยเรื่องเล่าในยุคปัจจุบันจึงเริ่มต้นด้วยเรื่องราวชีวิตของคนตัวเล็กคนชายขอบ ผู้ถูกกระทำ งานวิจัยเรื่องเล่าจึงมีกลิ่นอายของการหาที่ยืนให้ตนเองและการตั้งคำถามว่าด้วยอำนาจ โดยงานวิจัยเรื่องเล่าสามารถแบ่งได้ 3 ประเภทประกอบด้วย (1) งานวิจัยเรื่องเล่าแนวอัตชีวประวัติ (AutobiographicalNarrative Inquiry) เช่น อัตชีวประวัติ อัตชาติพันธุ์วรรณนางานวิจัยแนวนี้ ผู้วิจัยจะทำการสืบค้นประเด็นสำคัญผ่านชีวิตของตนเอง (2) งานวิจัยเรื่องเล่าเชิงศิลปะ (Arts-BasedNarrative Inquiry) สืบเนื่องจากการยอมรับความไม่ชัดเจน (blurring) ระหว่างงานวิจัยกับงานศิลปะงานวิจัยเรื่องเล่าจึงสามารถนำเสนอผ่านสารคดี เรื่องสั้น นวนิยาย บทกวี บทละครหรือภาพถ่าย ตลอดจนการเล่าเรื่องผ่านโลกออนไลน์ได้ และ (3)งานวิจัยเรื่องเล่าชีวประวัติ (Biograhical Narrative Inquiry) เช่น มุขปาฐะ (เรื่องเล่าที่เล่าสืบต่อกันมา) เรื่องราวชีวิต เป็นต้น (Kim,2016)

จุดบรรจบของจิตตปัญญาศึกษากับงานวิจัยเรื่องเล่าประกอบด้วย 1) ทั้งสองต่างยอมรับประสบการณ์ของ “ปัจเจก” หรือประสบการณ์เฉพาะ (particular) ดังในงานวิจัยเรื่องเล่าแนวอัตชีวประวัติ (AutobiographicalNarrative Inquiry) 2) ยอมรับสิ่งใหม่ๆที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบเดิมๆ เช่น การเขียนงานแบบวิชาการดังในงานวิจัยเรื่องเล่าเชิงศิลปะ (Arts-BasedNarrative Inquiry) ที่สามารถเล่าเรื่องผ่านงานศิลปะ เช่น ภาพถ่ายบทกวี เรื่องสั้น ฯลฯงานวิจัยเรื่องเล่าจึงเป็นพื้นที่หนึ่งที่จิตตปัญญาศึกษาได้นำเสนอตนเองในวงวิชาการซึ่งหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตตปัญญาศึกษาได้นำระเบียบวิธีวิจัยนี้มาใช้ในงานวิจัยของนักศึกษาไม่เพียงแต่มีผลงานเป็นที่ปรากฎเท่านั้น สิ่งที่น่าสนใจคือ “กระบวนการ”เขียนงานวิจัยเรื่องเล่าเป็นกระบวนการจิตตปัญญาศึกษาด้วยเช่นกันที่ผู้เขียนได้กลับมาใคร่ครวญ เห็นประเด็นบางอย่างในตนเอง และเกิดการเปลี่ยนแปลง

จิตตปัญญาเสวนาในครั้งนี้จึงเป็นการรวมตัวกันของมหาบัณฑิตสาขาจิตตปัญญาศึกษาที่เคยใช้ระเบียบวิธีแบบงานวิจัยเรื่องเล่าในการเขียนงานวิจัยของตนเองและมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อให้ผู้สนใจในวงวิชาการได้รับทราบว่ามีงานวิจัยที่เราสามารถทำงานกับตนเองได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตน และส่งต่อไปยังสังคมโดยจะมีลักษณะการจัดงานเป็นการประชุมโต๊ะกลม (roundtable) โดยมีมหาบัณฑิตจำนวน 4 ท่านที่ได้เขียนงานวิจัยในบริบทต่างๆ 4 บริบทมาแลกเปลี่ยน ประกอบด้วยบริบทความเป็นแม่ บริบทการแสวงหาอิสรภาพ บริบทของคนทำงานกับผู้ต้องขังและบริบทของการสนทนาเรื่องความตายในครอบครัว ประเด็นที่จะสนทนานั้นนอกจากจะเป็นประเด็นเรื่องงานวิจัยแล้ว ยังเป็นการกล่าวถึงชีวิตในปัจจุบันคือหลังงานวิจัยด้วยว่าการเขียนงานวิจัยนั้น ส่งผลกระทบอะไรแม้ในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ว่าด้วยงานวิจัยเรื่องเล่าตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษาแก่สังคม
2. เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้สนใจในการท างานวิจัยเรื่องเล่า
3. เพื่อเปิดโอกาสให้มีการสนทนาแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจเป็นการขยายเขตแดนของความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย
นักวิจัย / นักวิชาการ / อาจารย์ / นักศึกษา / บุคคลทั่วไป ที่กำลังทำงานวิจัย มีความสนใจหรือศึกษา
เรียนรู้ด้านจิตตปัญญา หรือในบริบทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตนเองและสังคม

รูปแบบการดำเนินงาน
เวทีเสวนาและแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม

ระยะเวลาและสถานที่
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2562 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องสระบัว 
ชั้น 1 อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม

วิทยากร
1.นางสาวปรางฉาย คชศิลา (ภาคเอกชน)
2.นางสาวประภาพร อนุมานไพศาล (ภาคเอกชน)
3.นางชรรินชร เสถียร (อาจารย์ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา)
4.นายปฏิพัทธ์ อนุรักษ์ธรรม (อาจารย์ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา)

ผู้ดำเนินรายการ
1.ดร.หิมพรรณ รักแต่งาม
2.นางสาวเลิศศิริ สมบูรณ์ทรัพย์

ลงทะเบียนออนไลน์
https://docs.google.com/forms

ผู้ประสานงาน 

นางสาวดวงรัตน์ ชิ้นฮะง้อ
E-mail : doungrut.chin@gmail.com
โทรศัพท์ 02 4415022-23 ต่อ 17

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
Download

Views : 202