Humanized Organization Development

หมวดหมู่ เวทีจิตตปัญญาเสวนา / ครั้งที่ 68

หลักการ


เวทีเสวนาจิตตปัญญาภายใต้หัวข้อ Humanized Organization Development จัดขึ้นเพื่อนำเสนอแนวความคิดใหม่ที่อาจเป็นทางเลือกสำหรับคนทำงานด้านการพัฒนาองค์กร การบริหารจัดการ หรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมีวิทยากรระดับชาติ 2 ท่านจาก 2 สถาบัน คือ รศ.ดร.สมบัติ กุสุมาวลี คณบดีคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันชั้นนำในการวิจัยและปฏิบัติการด้านงานทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาองค์กร และ รศ.ดร.นพ. ชัชวาลย์ ศิลปกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นสถาบันที่เผยแพร่งานด้านจิตตปัญญาศึกษาให้องค์กรต่างๆ ในสังคม โดยคาดหวังให้ผู้เข้าร่วมงานเสวนาได้เกิดความเข้าใจที่มาที่ไปและแนวคิดเบื้องหลัง (paradigm and mindset) ของการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาองค์กร (Human Resource and Organization Development) ในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการใคร่ครวญ ทบทวน เกิดการตระหนักรู้ถึงความจำเป็นในการปฏิรูปงานดังกล่าว เพื่อให้งานพัฒนาองค์กรเป็นไปเพื่อการพัฒนา “ทรัพยากรภายใน” ที่สำคัญของมนุษย์

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติเกี่ยวกับงานพัฒนาองค์กร รวมถึงการนำเสนอมุมมองใหม่ของการพัฒนาองค์กรบนพื้นฐานของการพัฒนา “ทรัพยากรภายใน” ของมนุษย์
2. เพื่อนำเสนอประสบการณ์จริงจากการทำงานพัฒนาองค์กรบนแนวคิด Humanized OD และการทำงานด้วยปรัชญาของ Appreciative Inquiry

เป้าหมาย

1. บุคคลที่ทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาองค์กร การบริหารจัดการ
2. ผู้บริหารและผู้ประกอบการในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งองค์กรขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
3. นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษา ที่กำลังวิจัยหรือศึกษาเรียนรู้ด้านการพัฒนาทรัพยกรมนุษย์ การพัฒนาองค์กร การบริหารจัดการ
4. ผู้สนใจทั่วไป

ผลลัพธ์

1. ผู้เข้าร่วมเกิดความเข้าใจ การตระหนักรู้ ถึงแนวคิดเบื้องหลัง (paradigm and mindset) ของการบริหารองค์กรในปัจจุบัน
2. ผู้เข้าร่วมมองเห็นความเป็นไปได้และทางเลือกใหม่ของการทำงานพัฒนาองค์กรโดยการให้ความสำคัญกับการพัฒนา “ทรัพยากรภายใน” ของมนุษย์
3. ผู้เข้าร่วมเกิดแรงบันดาลใจในการกลับไปพัฒนาองค์กรของตนเองบนพื้นฐานของการสร้างความตระหนักรู้ทั้งในระดับบุคคลและในระดับองค์กร เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานด้านใน (inner work) พร้อมๆ ไปกับการทำงานด้านนอก (outer work)



Views : 198