งานวิจัย เรื่องเล่า : เส้นทางการสืบค้น คน ตัวตน ชีวิต

หมวดหมู่ เวทีจิตตปัญญาเสวนา / ครั้งที่ 70

หลักการ


จุดบรรจบของจิตตปัญญาศึกษากับงานวิจัยเรื่องเล่า ประกอบด้วย 1) ทั้งสองต่างยอมรับประสบการณ์ของ “ปัจเจก” หรือประสบการณ์เฉพาะ (particular) ดังในงานวิจัยเรื่องเล่าแนวอัตชีวประวัติ (Autobiographical Narrative Inquiry) 2) ยอมรับสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบเดิมๆ เช่น การเขียนงานแบบวิชาการ ดังในงานวิจัยเรื่องเล่าเชิงศิลปะ (Arts-Based Narrative Inquiry) ที่สามารถเล่าเรื่องผ่านงานศิลปะ เช่น ภาพถ่าย บทกวี เรื่องสั้น ฯลฯ งานวิจัยเรื่องเล่าจึงเป็นพื้นที่หนึ่งที่จิตตปัญญาศึกษาได้นำเสนอตนเองในวงวิชาการ ซึ่งหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตตปัญญาศึกษา ได้นำระเบียบวิธีวิจัยนี้มาใช้ในงานวิจัยของนักศึกษา ไม่เพียงแต่มีผลงานเป็นที่ปรากฎเท่านั้น สิ่งที่น่าสนใจคือ “กระบวนการ” เขียนงานวิจัยเรื่องเล่าเป็นกระบวนการจิตตปัญญาศึกษาด้วยเช่นกัน ที่ผู้เขียนได้กลับมาใคร่ครวญ เห็นประเด็นบางอย่างในตนเอง และเกิดการเปลี่ยนแปลง
จิตตปัญญาเสวนาในครั้งนี้ จึงเป็นการรวมตัวกันของมหาบัณฑิตสาขาจิตตปัญญาศึกษาที่เคยใช้ระเบียบวิธีแบบงานวิจัยเรื่องเล่าในการเขียนงานวิจัยของตนเอง และมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อให้ผู้สนใจในวงวิชาการได้รับทราบว่ามีงานวิจัยที่เราสามารถทำงานกับตนเองได้ เกิดการเปลี่ยนแปลงในตน และส่งต่อไปยังสังคม โดยจะมีลักษณะการจัดงานเป็นการประชุมโต๊ะกลม (roundtable) โดยมีมหาบัณฑิตจำนวน 4 ท่านที่ได้เขียนงานวิจัยในบริบทต่างๆ 4 บริบทมาแลกเปลี่ยน ประกอบด้วย บริบทความเป็นแม่ บริบทการแสวงหาอิสรภาพ บริบทของคนทำงานกับผู้ต้องขัง และบริบทของการสนทนาเรื่องความตายในครอบครัว ประเด็นที่จะสนทนานั้น นอกจากจะเป็นประเด็นเรื่องงานวิจัยแล้ว ยังเป็นการกล่าวถึงชีวิตในปัจจุบันคือหลังงานวิจัยด้วย ว่าการเขียนงานวิจัยนั้น ส่งผลกระทบอะไรแม้ในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ว่าด้วยงานวิจัยเรื่องเล่าตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษาแก่สังคม
2. เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้สนใจในการทำงานวิจัยเรื่องเล่า
3. เพื่อเปิดโอกาสให้มีการสนทนาแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจเป็นการขยายเขตแดนของความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

เป้าหมาย

นักวิจัย / นักวิชาการ / อาจารย์ / นักศึกษา / บุคคลทั่วไป ที่กำลังทำงานวิจัย มีความสนใจหรือศึกษา
เรียนรู้ด้านจิตตปัญญา หรือในบริบทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตนเองและสังคม

ผลลัพธ์

1. ผู้เข้าร่วมเกิดความเข้าใจ การตระหนักรู้ผ่านงานวิจัยในบริบทต่างๆ
2. ผู้เข้าร่วมมองเห็นแนวทางในการสร้างงานวิจัยในประเภทเรื่องเล่าได้
3. ผู้เข้าร่วมเกิดแรงบันดาลใจจากการสนทนาและแลกเปลี่ยนความรู้ในการเพิ่มความรู้ในบริบทต่างๆ ของงานวิจัยได้มากขึ้น และสามารถนำไปใช้ความรู้ใน



Views : 210